หอพักขอนแก่น,หอพัก ขจรศักดิ์ ขอนแก่น, หอพัก ศศิธร ขอนแก่น, หอพัก ถูก ขอนแก่น, หอพัก อยู่สบาย ขอนแก่น หน้าค่าย ร.8 ใกล้สนามบินขอนแก่น,

ผู้เขียน หัวข้อ: รับสร้างบ้าน:ข้อควรรู้ เมื่อสร้างบ้านอยู่เอง  (อ่าน 241 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2590
    • ดูรายละเอียด

" มีเงินทั้งทีจะสร้างบ้านให้ดีต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง " วันนี้จะพามาดู10 ข้อควรคำนึงถึงในการสร้างบ้าน มีดังต่อไปนี้

1. สำรวจทำเลที่ตั้งหรือที่ดินสำหรับปลูกสร้าง

พื้นที่ปลูกสร้างถือเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ของการสร้างบ้าน ผู้ปลูกสร้างบ้านเองควรคำนึงถึงความสะดวกสบายที่พื้นที่นั้นจะเอื้อประโยชน์และอำนวยความสะดวกให้มากที่สุด เช่น การเดินทางจากบ้านไปที่ทำงาน ไปสถานที่สำคัญต่างๆ การเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ และความปลอดภัยของย่านที่อยู่อาศัย รวมถึงเส้นทางเข้าออกบ้านซึ่งทางที่ดีควรมีมากกว่า 1 เส้นทาง


2. ทิศทางแดด ลม การวางแปลนบ้าน

การวางทิศทางแสงแดด ลม ตำแหน่งแปลนบ้านที่ดี จะช่วยให้การอยู่อาศัยนั้นสะดวกสบาย ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยทิศทางแสงแดดจะวิ่งเป็นแนวตะวันออกไปทางทิศใต้แล้วสิ้นสุดที่ทิศตะวันตก เหมาะสำหรับห้องที่สมาชิกในบ้านไม่ได้ใช้เวลาอยู่นานนัก หรือห้องที่ต้องการแสงแดดเพื่อลดความชื้น เช่น ห้องครัว ห้องน้ำ พื้นที่ซักล้าง ส่วนทิศเหนือเป็นมุมที่ไม่ถูกรบกวนจากแสงแดดมากสามารถวางตำแหน่งให้เป็นห้องนอน และห้องนั่งเล่นได้ ในเรื่องของทิศทางลม บ้านที่ดีควรหันด้านยาวของตัวบ้านเข้าหาลมเพื่อเพิ่มพื้นที่การรับลมธรรมชาติเข้าบ้าน ช่วยระบายความร้านภายใน และลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศ


 
3. จำนวนสมาชิกผู้พักอาศัย และความต้องการพื้นฐาน

จำนวนสมาชิกและความต้องการของผู้อยู่อาศัย มีผลต่อการออกแบบบ้าน จำนวนชั้น การจัดสรรพื้นที่ใช้สอย และการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง โดยความต้องการนั้นควรมองทั้งความต้องการส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคน ความต้องการโดยรวมเรื่องสไตล์บ้านและแนวคิดเรื่องบ้านที่ต้องการ เช่น บ้านประหยัดพลังงาน บ้านเพื่อผู้สูงอายุ บ้านสำหรับครอบครัวใหญ่ เพื่อการสร้างบ้านในฝันนั้นตอบโจทย์ทุกความต้องการ


 
4. ขนาดพื้นที่ใช้สอย

พื้นที่ใช้สอยมีผลต่อการตัดสินใจเลือกแบบบ้าน ควรดูรูปแบบและความสัมพันธ์ของห้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก ห้องครัว ให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ ความต้องการของสมาชิกในบ้าน เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการพักอาศัยและการใช้งานได้มากที่สุด


5. งบประมาณสำหรับการสร้างบ้าน

งบประมาณคือปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจสร้างบ้าน การตั้งงบประมาณไว้อย่างรอบคอบและรัดกุมจะช่วยให้ได้บ้านที่ตอบโจทย์มากที่สุด และไม่เกิดปัญหางบบานปลายภายหลัง ทำให้เจ้าของบ้านมีคำตอบที่ชัดเจนและง่ายต่อการตัดสินใจสร้างบ้าน การเลือกแบบ วิธีการสร้าง ขนาดพื้นที่ รวมถึงการใช้จ่ายเพื่องานตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ สิ่งก่อสร้างหรือสิ่งอำนวยความสะดวกรอบบริเวณบ้าน และพื้นที่สวนด้วย


6. ช่วงเวลาและขั้นตอนของการสร้างบ้าน

การกำหนดระยะเวลาของการสร้างบ้าน จะช่วยให้สามารถวางแผนล่วงหน้าในงานก่อสร้างขั้นตอนต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ไร้ปัญหาระหว่างงาน เพราะหากระยะเวลาก่อสร้างยืดเยื้อ ช่วงเวลาการทำงานไม่เป็นระบบ ไม่รู้ขอบเขตงานที่แน่นอน อาจมีปัจจัยอื่นที่ก่อให้เกิดปัญหาลากยาวไม่สิ้นสุดตามมา เช่น ฤดูกาลทำให้บางขั้นตอนของงานสร้างใช้เวลามากกว่าปกติ การดำเนินการด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบ้านไม่รองรับขั้นตอนการดำเนินงาน รวมถึงการเตรียมงบประมาณสำหรับจ่ายในขั้นตอนต่างๆ สะดุด


 
7. ทำความเข้าใจแบบบ้านที่ต้องการ

เจ้าของบ้านส่วนใหญ่มีประสบการณ์การสร้างบ้านอยู่เองครั้งแรก แต่เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลักในการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง งบประมาณ หรือปัญหาจิปาถะที่อาจเกิดขึ้นระหว่างงานก่อสร้าง ดังนั้นเพื่อให้ความต้องการที่จะสื่อสารกับสถาปนิก วิศวกร หรือคนทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น ได้ความเข้าใจตรงกัน เจ้าของบ้านควรให้เวลาศึกษา ทำความเข้าใจแบบบ้านที่ต้องการ เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ระหว่างการพูดคุยวางแผน ทำให้เกิดความราบรื่นมากขึ้น


 
8. ทิศทางการเปิดประตูภายในบ้าน อะไรนะเรื่องแบบนี้ก็ต้องมีหลักการด้วยเหรอมันจะเวอร์ไปไหม ตอบได้ครับว่ามันสำคัณมาก เพราะถ้าเราติดตั้งประตูผิดทางอาจทำให้น้ำท่วมบ้านกันได้เลยทีเดียวนะครับ จะหาว่าไม่เตือน

เริ่มกันจากประตูหน้าบ้าน ประตูหน้าบ้านด้านที่จะต้องโดนแดดโดนฝนหรือฝนสาด จะต้องเปิดออกนอกบ้านเท่านั้น เพราะการเปิดออกจะบังคับให้บังใบของวงกบประตูเป็นตัวกันน้ำที่จะเข้าบ้านไปโดยปริยายและควรลดระดับพื้นที่ขอบล่างของประตูลงซัก 1 ซม เพื่อกันน้ำย้อนเข้าบ้านนั้นเอง และที่สำคัญคือประตูหน้าบ้านควรกว้างอย่างน้อย 90 ซม เพื่อเผื่อไว้สำหรับตอนขนของชิ้นใหญ่ๆ เข้าบ้านยิ่งเป็นประตูเปิดคู่ยิ่งดีเลย


9. จะเผื่อความสูงฝ้าเพดานไว้เท่าไหร่ดี โดยปกติความสูงฝ้าโดยทั้งไป(วัดจากระดับพื้นถึงท้องฝ้า)ควรจะสูงไม่น้อยกว่า 2.40 ม.ซึ่งเป็นความสูงที่กำลังสบายไม่อึดอัดหรือรู้สึกโดนกด และประหยัดด้วย เอะ!ยังไง.....มันประหยัดยังไงกัน คำตอบก็คือปัจจุบันวัสดุกรุผนังส่วนใหญ่จะทำออกมาที่ตัวเลขรวมได้ 2.40 พอดีเช่น กระเบื้องขนาด 30ซม x 30ซม หากปู 8 แถวก็จะได้ความสูง 2.40 พอดี เพราะถ้าเราปูแค่ 7 แถวก็จะได้ความสูงฝ้าแค่ 2.10 ม.ซึ่งเป็นระดับฝ้าที่เตี้ยเกินไปนั้นเอง และยังทำให้กระเบื้องไม่เหลือเศษทิ้งให้เสียของ หากต้องกรุในปริมาณมากๆก็ช่วยลดงบในการซื้อวัสดุกรุผนังลงได้อีกเยอะเป็นต้น


10. เลือกใช้มืออาชีพอย่างบริษัทรับสร้างบ้าน

บ้านที่ตอบโจทย์ งบไม่บานปลาย และสร้างบ้านแล้วได้บ้านอย่างที่ใจหวังนั้น บริษัทรับสร้างบ้านยังคงเป็นทางเลือกครองใจคนสร้างบ้าน โดยก่อนตัดสินใจเลือกบริษัทรับสร้างบ้าน ควรทำความรู้จักแต่ละบริษัท เปรียบเทียบผลงาน ความน่าเชื่อถือ บริการก่อนและหลังสร้างบ้านเสร็จ การดูแลรักษา การตรวจสอบข้อบกพร่องการรับประกันโครงสร้างหลังสร้างบ้าน ใบอนุญาตการดำเนินงานและมาตรฐานของบริษัท รวมถึงเครือข่ายบริษัทวัสดุที่ใช้ในการดำเนินงานก่อสร้าง โดยควรใช้เวลาพิจารณาอย่างค่อยเป็นค่อยไป และรอบคอบมากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดข้อยุ่งยากตามมาในภายหลัง



รับสร้างบ้าน:ข้อควรรู้ เมื่อสร้างบ้านอยู่เอง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://luxuryhomesdesigns.com/
บันทึกการเข้า