ทุกบริษัทย่อมมีกลยุทธ์ในการชนะใจลูกค้า โดยเฉพาะยุคดิจิทัลนี้ ที่นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีไม่ได้ราคาสูงและจับต้องยากเกินไปเหมือนสมัยก่อน ทำให้แม้จะเป็นบริษัทขนาดเล็กหรือกลาง ก็สามารถใช้นวัตกรรมแบบเดียวกับบริษัทใหญ่ได้ เพื่อที่จะปรับตัวให้ทันกับพฤติกรรมของลูกค้า
หากผู้ออกแบบหรือผู้รับเหมากำลังเจอกับปัญหาเหล่านี้ เช่น แบบเต็มไปด้วยปากกามาร์คแก้ไขงาน ไม่รู้ต้นทุนของสินค้าแต่ละรายการ ประเมินรายการต้นทุนไม่ถูก ลูกค้าเห็นภาพคนละแบบกับหน้างานจริง เดินทางไปตรวจไซต์งานลำบาก ..... ถึงเวลาแล้ว !! ที่เราต้องหันมาสนใจนวัตกรรมและเทคโนโลยี วันนี้ ชวนดู 5 สุดยอดเทคโนโลยีที่ช่วยเปลี่ยนแปลงวงการออกแบบก่อสร้าง จะมีเทคโนโลยีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
1.Construction Workflows
ผู้รับเหมา สถาปนิก ช่าง รวมถึงลูกค้าเองต้องเคยเจอปัญหาแก้แบบหน้างาน และต้องเอากลับไปแก้ในโปรแกรมเขียนแบบหลายต่อหลายครั้ง จนไม่รู้ว่าไฟล์ไหนคือเวอร์ชั่นล่าสุด หรือใครเป็นคนแก้ ทำให้เกิดปัญหาติดขัดในการทำงานตามมา ปัญหานี้ไม่ได้มีเพียงแค่ที่ไทย แต่เป็นปัญหาของวงการก่อสร้างทั่วโลก เพราะมีการประเมินว่าปัญหานี้กินเวลากว่า 35% ของเวลาทำงานทั้งหมด
Pype บริษัทเทคโนโลยีจาก USA ช่วยทำให้เราไม่ต้องนั่งเปิดหาแบบหลายร้อยหน้า ที่เต็มไปด้วยการขีดเขียนแก้ไขหน้างาน ด้วยการนำ AI เข้ามาช่วยในการจัดการเอกสารก่อสร้าง แบบสเปค รวมถึงพิมพ์เขียว เพียงแค่อัปโหลดเอกสารต่างๆเข้าไปที่ Pype ระบบ AI จะแปลงทุก Requirements ให้ง่ายต่อการจัดการ ซึ่งทำให้ทุกฝ่ายสามารถดูเอกสารชุดเดียวกัน รับทราบการอัพเดทของงานพร้อมกัน ช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้นและประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย
2. Construction Live Cameras
" Sub-contractor ที่จ้างได้เข้าไปทำงานตามที่ตกลงมั้ย?" "รถส่งสินค้ามาส่งของครบมั้ย?" เป็นคำถามที่เจ้าของงานมักจะสงสัยบ่อยๆ ซึ่งโดยปกติแล้วทางทีมผู้รับเหมาและ Owner จะต้องจัดคนเข้าไปเช็คที่ไซต์งานเพื่อนับจำนวนคนหรือจำนวนรถที่เข้าส่งสินค้าหน้างาน บางครั้งแต่ละไซต์งานก็ไกลกันไม่สามารถจัดการหน้างานหลายๆหน้างานในวันเดียวกันได้ โดยเฉพาะในต่างประเทศอย่างอเมริกาที่ใหญกว่าไทยมาก เคสแบบนี้จึงถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ในการบริหารโครงการก่อสร้างเลยทีเดียว
บริษัทจาก USA อีกหนึ่งราย ชื่อ Indus ได้นำเทคโนโลยีในกล้องวงจรปิดมาพัฒนาต่อเข้ากับระบบ AI เพื่อใช้ตรวจสอบจำนวนคนที่ไซต์งาน จำนวนรถขนสิ่งสินค้า ในแต่ละพื้นที่ก่อสร้างว่าเป็นไปตามที่ตกลงหรือไม่ โดยข้อมูลทุกอย่างที่ผ่านการตรวจจับของกล้องจะถูกบันทึกไว้ในระบบออนไลน์ซึ่งสามารถเรียกดูได้ตลอดเวลา จากที่ไหนก็ได้ ช่วยให้ผู้บริหารโครงการสามารถจัดการงานก่อสร้างได้ดีขึ้น และจุดที่สำคัญมากกว่าเรื่องจำนวนเงินและเวลา ก็คือความปลอดภัยในการทำงาน ระบบสามารถกำหนดโซนอันตราย เมื่อมีคนงานพลาดเข้าไปในโซนที่กำหนด ระบบก็จะเตือนก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุได้
3. Resource and Workforce Management Software
ไม่รู้ว่าต้นทุนของแต่ละโปรเจคเป็นเท่าไหร่กันแน่?่ ถ้าอยากลดต้นทุนต้องเริ่มจากที่ไหน? หรือแม้กระทั่งทำงานจนจบโปรเจคแต่สุดท้ายเข้าเนื้อตัวเอง ปัญหาเหล่านี้่คนในวงการก่อสร้างทุกคนต้องเคยเจอ ไม่ว่าจะเป็นรายเล็กหรือรายใหญ่ ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ต้นทุนค่าของหรือคนเพิ่มขึ้นจากช่วงที่วางแผนเอาไว้ ลูกค้าขอเพิ่มงานกระทันหัน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากงานเล็ก ๆ น้อยที่เรามักจะไม่ได้ใส่ใจมากนัก
การทำงานเป็นระบบจะช่วยให้เรารู้ต้นทุนของแต่ละส่วนและบริหารคนหรือเวลาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก่อนเราอาจจะต้องจ้างที่ปรึกษาหรือซื้อโปรแกรมราคาหลักล้าน แต่ในยุคนี้โปรแกรมควบคุมต้นทุนเหล่านี้เหล่านี้ถูกออกแบบ พัฒนาโดยบริษัทผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในวงการก่อสร้างมานาน ทั้งเคยผ่านการลองผิด ลองถูกจนเจอสูตรสำเร็จที่จะช่วยให้การเปลี่ยนแปลงและควบคุมราคาก่อสร้าง ทำได้สะดวกและรวดเร็ว ทั้งยังสามารถช่วยผู้รับเหมาได้ครอบคลุม 3 ส่วนหลัก ตั้งแต่ การวางแผน การก่อสร้าง ตลอดจนถึงการวัด
4. The Next Wave of 3D Printing
3D Printer เริ่มใช้ครั้งแรกตั้งแต่ 1983 ซึ่งเดิมมีข้อจำกัดว่าปริ้นได้แค่ของชิ้นเล็กเท่านั้น จนกระทั่งปี 2016 ดูไบได้ใช้เวลา 17 วัน สร้างออฟฟิศขนาด 6 x 36 x 12 เมตร ด้วย 3D Printer ทั้งหมด โดยใช้แรงงานคนเพียงแค่ส่วนของการตั้งงค่าเครื่องเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของวงการก่อสร้าง เพราะเทคโนโลยี 3D Printing นี้จะช่วยเพิ่มความเร็ว ลดต้นทุน ลดปัญหาขาดแคลนแรงงานและลดอันตรายที่เกิดจากการก่อสร้างได้ทั้งหมด ซึ่งหากเทียบการก่อสร้างแบบปกติ 3D Printer จะมีประสิทธิภาพมากกว่าถึง 60% และมีแนวโน้มที่จะทำได้ดีขึ้นอีกจากการพัฒนาของเทคโนโลยีปัจจุบันนี้
ในฐานะคนที่เกี่ยวข้องกับวงการก่อสร้างยิ่งต้องจับตาดูการพัฒนาของเทคโนโลยี 3D Printing อย่างใกล้ชิด เพราะบริษัทและแรงงานอาจจะถูกทดแทนด้วย 3D Printer แทบจะทั้งหมด หรือหากตัวเครื่องมือมีราคาที่ต่ำลงกว่านี้ในอนาคต คาดว่าหลายๆบริษัทน่าจะมีการนำเทคโนโลยี 3D printing มาใช้ เพื่อช่วยให้บริษัททำกำไรได้มากขึ้นและมีจุดแข็งเหนือกว่าคู่แข่งอย่างแน่นอน
5. AR + VR = Immersive Reality
ย้อนไปหลายปีก่อนบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในยุคแรกสามารถขายบ้านได้ด้วยแบบ 3D และโมเดลจำลอง โดยที่บ้านยังไม่จำเป็นต้องสร้างไม่เสร็จ กระทั่งระยะหลังๆตั้งแต่ปี 2000 ได้มีบริษัทอสังหาฯในไทยได้ใช้กลยุทธ์สร้างบ้านเสร็จก่อน แล้วค่อยเปิดขาย ทำให้เกิดกระแสตอบรับที่ดีจากลูกค้าทั้งยังสร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่วงการอีกด้วย แต่ในทางกลับกันวงการก่อสร้างอสังหาฯรูปแบบอื่นบางครั้งยังตกลงกันไม่ได้ตั้งแต่ของยังไม่เริ่มสร้าง เราจึงมักได้เห็นคดีฟ้องร้องเรื่องการก่อสร้างที่ไม่ตรงตามแบบระหว่างฝั่งผู้รับเหมากับลูกค้าอยู่เรื่อยๆ
ปัจจุบันหลายบริษัทได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่แก้ปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างทุกฝ่าย เพื่อลดความผิดพลาดในการตัดสินใจและเกิดการฟ้องร้องขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยกล้องและระบบ AI จะช่วยให้เราสามารถจำลองแบบการก่อสร้างผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริง(VR) ว่าเราเข้าไปอยู่ในบ้านนั้นจริง ๆ ทุกฝ่ายเองก็จะเห็นภาพของการก่อสร้างมากขึ้น โดยไม่ต้องเดินทางไปไซต์งาน สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ก่อนที่จะลงมือทำได้ พร้อมทั้งช่วยให้การนำเสนองานเข้าใจง่ายขึ้น ใช้อุปกรณ์น้อยลง และงานดูน่าสนใจมากขึ้น หากอยากสร้างความแตกต่างให้กับบริษัท เทคโนโลยีนี้เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดี ซึ่งมีบริษัททั้งในไทยและต่างประเทศที่พัฒนาระบบจนพร้อมใช้งานแล้ว เช่น Holo Builder (USA) หรือ Builk (TH) ที่ออกแบบโปรแกรมสำหรับช่วยตรวจไซต์งานออนไลน์แบบ 360 องศา และ Matterport (USA) ที่เน้นการเก็บ Digital Copy ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในการขายต่อไป
สุดท้ายแล้วการจะใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือการนำเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดงานได้จริง ทั้งยังปรับเข้ากับหน้างาน เชื่อมต่อกันทุกโปรแกรมได้อย่างลื่นไหล สร้างประสบการณที่ดีให้กับผู้ใช้เพราะคงไม่มีบริษัทใดต้องการลงทุนซื้อระบบหลักแสนมาวางแผนงาน สร้างงานออกแบบด้วยโปรแกรมนึงและขึ้นแบบจำลองเขียนแบบอีกโปรแกรมนึง สุดท้ายเพื่อปริ้นเป็นกระดาษออกมาเขียนคอมเม้นหน้างานกันซ้ำๆ เพราะจะยิ่งทำให้การทำงานช้าลงไปอีก
เทคโนโลยีสุดปัง! เปลี่ยนโลกวงการก่อสร้าง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://techwealth99.com/