หอพักขอนแก่น,หอพัก ขจรศักดิ์ ขอนแก่น, หอพัก ศศิธร ขอนแก่น, หอพัก ถูก ขอนแก่น, หอพัก อยู่สบาย ขอนแก่น หน้าค่าย ร.8 ใกล้สนามบินขอนแก่น,

ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจสุขภาพ: โรคติดเชื้อเคลบเซลลา นิวโมเนียอี (Klebsiella Pneumoniae)  (อ่าน 280 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2591
    • ดูรายละเอียด

Klebsiella Pneumoniae หรือเชื้อเคลบเซลลา นิวโมเนียอี เป็นแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่เมื่อแบคทีเรียชนิดนี้อยู่ในบริเวณอื่นของร่างกายจะก่อให้เกิดการติดเชื้อ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้ หนาวสั่น เวียนศีรษะหรือมีผื่น ทั้งนี้ อาการและความรุนแรงของการติดเชื้อจะแตกต่างไปในแต่ละคนขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการติดเชื้อ

อาการของโรคติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae จะรุนแรงขึ้นในผู้ที่มีอาการป่วยอยู่ก่อนแล้ว จึงควรพบแพทย์โดยเร็วเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย Klebsiella Pneumoniae สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว


อาการของโรคติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae

อาการของผู้ป่วยติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการติดเชื้อและเชื้อที่เป็นสาเหตุ เช่น

    การติดเชื้อในบริเวณปอด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้ ไอ เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก มีเสมหะหรือน้ำมูกที่อาจข้นและปนเลือด
    การติดเชื้อในกระแสเลือด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้ หนาวสั่น เวียนศีรษะ มีผื่นและระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง 
    ผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรียจะมีไข้ ปวดศีรษะ คอแข็ง ก้มศีรษะได้ลดลง และมีอาการไวต่อแสง

นอกจากนี้ การติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้ที่อวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น หัวใจ ผิวหนังหรือทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น


สาเหตุของโรคติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae

การติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae จะเกิดขึ้นเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อออกไปได้ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะไม่แพร่กระจายทางอากาศ แต่จะแพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง อีกทั้งอาจได้รับเชื้อจากเข็มฉีดยาเข้าเส้นเลือด การใส่ท่อหรือเครื่องช่วยหายใจและการใส่สายสวนปัสสาวะ ซึ่งมักพบการติดเชื้อได้ในสถานพยาบาลและสถานที่ที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก

ทั้งนี้ การติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae มักเกิดขึ้นในผู้ที่มีภูมิคุ้นกันอ่อนแอจนไม่สามารถป้องกันเชื้อโรคได้ เช่น ผู้ที่ติดสุรา ผู้ป่วยโรคไตวาย โรคตับ โรคปอด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ผู้ที่รับประทานยาปฏิชีวนะบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานานและรับการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เป็นต้น


การวินิจฉัยโรคติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae

แพทย์จะวินิจฉัยโรคติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae ด้วยการตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจวิธีอื่นตามอาการ เช่น

    การตรวจหาแบคทีเรียจากตัวอย่างปัสสาวะ เลือด เสมหะ สารคัดหลั่ง หรือน้ำไขสันหลัง
    การทดสอบความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ
    การตรวจทางภาพถ่าย เช่น การเอกซเรย์ทรวงอกหากสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการปอดบวม การอัลตราซาวด์หรือซีทีสแกนหากสงสัยว่าผู้ป่วยมีฝีในตับ เป็นต้น


การรักษาโรคติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae

แพทย์จะรักษาโรคติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae ด้วยยาปฏิชีวนะโดยเร็วที่สุด ตัวอย่างยาที่นำมาใช้รักษาได้แก่ ยาเซฟาโลสปอริน (Cephalosporins) หรือยากลุ่มคาบาพีเนม (Carbapenem) หากเป็นยารับประทาน ผู้ป่วยต้องใช้ยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดเนื่องจากอาการติดเชื้ออาจกลับเป็นซ้ำเมื่อหยุดใช้ยาก่อนกำหนด ในกรณีที่พบว่าเชื้อแบคทีเรียดื้อต่อยา แพทย์จะปรับเปลี่ยนตัวยาให้เหมาะตามผลการเพาะเชื้อที่ได้

ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถหายจากอาการติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae ได้ แต่มีบางรายที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการป่วยอย่างรุนแรงอยู่ก่อนแล้วและมีโรคปอดบวมเป็นโรคแทรกซ้อน


ภาวะแทรกซ้อนของโรคติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae

การติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ฝีในปอด เส้นเลือดอุดตันจนเกิดภาวะเนื้อเน่าตายในปอด ทำให้ปอดบางส่วนถูกทำลายอย่างรวดเร็ว เกิดโพรงในปอด เกิดภาวะหนองในโพรงเยื่อหุ้มปอด ภาวะรูเชื่อมระหว่างหลอดลมและช่องเยื่อหุ้มปอดผิดปกติ และภาวะติดเชื้ออื่นร่วม เป็นต้น


การป้องกันโรคติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae

การติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae สามารถป้องกันได้โดยการล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนหรือหลังการรับประทานอาหาร ก่อนใช้มือสัมผัสตา ปาก หรือจมูก ก่อนและหลังเปลี่ยนผ้าพันแผล หลังเข้าห้องน้ำ หลังการจาม ไอ หรือสั่งน้ำมูก และหลังสัมผัสวัตถุที่อาจปนเปื้อนเชื้ออย่างสิ่งของในโรงพยาบาล

ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ดังนี้

    ควรตรวจสอบว่าตนเองปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในการรักษาโรคประจำตัวหรืออาการป่วย
    หากผ้าพันแผลเปียกหรือเข็มน้ำเกลือหลุด ควรแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบ
    สอบถามเจ้าหน้าที่ถึงวิธีการป้องกันการติดเชื้อ 
    หากจำเป็นต้องใส่เครื่องมือแพทย์อย่างสายสวนหรืออื่น ๆ ควรได้รับการถอดออกเร็วสุดเมื่อแพทย์ประเมินว่าหมดความจำเป็นต้องใส่หมด

    แจ้งให้ผู้เข้าเยี่ยมล้างมือทุกครั้งก่อนเข้ามาในห้องพักผู้ป่วยติดเชื้อ
    ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ควรสอบถามแพทย์ถึงวิธีป้องกันที่เหมาะสม สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการไข้และอาการติดเชื้ออื่น ๆ




ตรวจสุขภาพ: โรคติดเชื้อเคลบเซลลา นิวโมเนียอี (Klebsiella Pneumoniae) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/symptom-checker
บันทึกการเข้า