หอพักขอนแก่น,หอพัก ขจรศักดิ์ ขอนแก่น, หอพัก ศศิธร ขอนแก่น, หอพัก ถูก ขอนแก่น, หอพัก อยู่สบาย ขอนแก่น หน้าค่าย ร.8 ใกล้สนามบินขอนแก่น,

ผู้เขียน หัวข้อ: โปรแกรมหมอประจำบ้านอัจริยะ: กระดูกคอเสื่อม / กระดูกคองอกกดรากประสาท (Cervical spondylosis)  (อ่าน 295 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2561
    • ดูรายละเอียด

กระดูกคอเสื่อม หมายถึง กระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical spine ซึ่งเรียกสั้น ๆ ว่า “กระดูกคอ”) มีการเสื่อมตามอายุ ซึ่งพบบ่อยในวัยกลางคนและวัยสูงอายุ ทำให้มีอาการปวดต้นคอ และอาจมีอาการของรากประสาทถูกกดร่วมด้วย

สาเหตุ

เกิดจากกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอมีการเสื่อมตามอายุ ทำให้ผิวข้อกระดูกสันหลังมีหินปูนหรือปุ่มงอก (osteophyte) ประกอบกับหมอนรองกระดูกมีการเสื่อมและบางตัวลง ทำให้ช่องว่างระหว่างข้อต่อแคบลง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ค่อย ๆ เกิดขึ้นทีละน้อย และอาจต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าจะรุนแรงจนถึงขั้นมีการกดถูกรากประสาทหรือไขสันหลัง

ผู้ที่เคยมีประวัติบาดเจ็บที่บริเวณคอมาก่อน มีอาชีพที่มีการเคลื่อนไหวคอมากหรือมีแรงเสียดสีซ้ำ ๆ ที่กระดูกคอ และการสูบบุหรี่ อาจมีส่วนกระตุ้นให้กระดูกสึกกร่อนและเสื่อมมากขึ้น

อาการ
ผู้ป่วยที่มีกระดูกคอเสื่อมส่วนหนึ่งจะไม่มีอาการแสดงใด ๆ อาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการถ่ายภาพรังสีขณะตรวจเช็กสุขภาพ (การถ่ายภาพรังสีที่บริเวณคอในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มักพบว่ามีการเสื่อมของกระดูกคอเป็นส่วนใหญ่)

ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดเมื่อยต้นคอเป็นครั้งคราว บางครั้งอาจปวดนานเป็นแรมเดือนแล้วค่อย ๆ ทุเลาไป หรืออาจมีอาการปวดคอเรื้อรัง

ในรายที่มีการกดถูกรากประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ คอแข็ง และมีอาการปวดร้าว เสียว ๆ แปลบ ๆ และชาลงมาที่ไหล่ แขนและมือ ซึ่งมักจะเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่ง (ส่วนน้อยที่อาจเป็นพร้อมกัน 2 ข้าง) อาการจะเป็นมากเวลาเคลื่อนไหวคอในบางท่า เช่น แหงนหน้า มองที่สูง ก้มเขียนหนังสือ ใช้ภาษาคอในการสื่อสาร (สั่นศีรษะ พยักหน้า) เป็นต้น และเมื่อปรับคอให้อยู่ตรง ๆ อาการปวดจะทุเลาหรือหายไป

บางรายอาจมีอาการเดินโคลงเคลง เสียการทรงตัว หรืออาจมีอาการเห็นบ้านหมุนชั่วขณะเวลาเงยศีรษะไปข้างหลัง

ภาวะแทรกซ้อน
ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ อาจมีการฝ่อตัวและการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบริเวณแขนและมือ

ถ้าหากมีการกดทับของไขสันหลัง ก็อาจมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา ถ่ายหรือกลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้

การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบ ดังนี้

ระยะแรกอาจตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน ต่อมาจะพบว่ากล้ามเนื้อแขนและมือฝ่อตัว อ่อนแรงและมีอาการชา รีเฟล็กซ์ของข้อศอกและข้อมือน้อยกว่าปกติ

แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการเอกซเรย์ ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ถ้าจำเป็นอาจต้องทำการถ่ายภาพรังสีไขสันหลังโดยการฉีดสารทึบรังสี (myelography)

การรักษาโดยแพทย์
แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้

ผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการไม่มาก อาจให้การรักษาโดยการใส่ “ปลอกคอ” ให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ (เช่น ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนก ไพร็อกซิแคม นาโพรเซน) และฝึกบริหารกล้ามเนื้อต้นคอ

บางรายอาจต้องรักษาด้วยการใช้น้ำหนักดึงคอ

ในรายที่เป็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการกดไขสันหลัง อาจต้องผ่าตัดเพื่อขจัดการกดทับและป้องกันมิให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น หลังผ่าตัดอาการปวดจะทุเลา และสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ส่วนภาวะแทรกซ้อน (เช่น แขนขาอ่อนแรง) หากเป็นอยู่นานก็อาจไม่ทุเลาหลังผ่าตัด

การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีอาการปวดต้นคอ และมีอาการปวดร้าว เสียว ๆ แปลบ ๆ และชาลงมาที่ไหล่ แขนและมือข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อตรวจพบว่าเป็นกระดูกคอเสื่อม/กระดูกคองอกกดรากประสาท ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ 
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
    ขณะมีอาการปวดคอให้ใส่ปลอกคอช่วยพยุง เพื่อช่วยบรรเทาอาการ
    หมั่นบริหารกล้ามเนื้อคอด้วยท่าบริหารที่แพทย์แนะนำ
    ออกกำลังกายด้วยการเดิน และงดการออกกำลังกายที่มีการกระเทือนต่อกระดูกคอ เช่น การวิ่งเหยาะ
    ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินต่อที่บ้าน ถ้ากินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา (เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระดำ ท้องเดิน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ) ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด

การป้องกัน

ความเสื่อมของกระดูกคอเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามอายุ ยากที่จะป้องกันได้ แต่อาจชะลอด้วยการปฏิบัติ ดังนี้

    ไม่สูบบุหรี่
    หมั่นออกกำลังกายด้วยการเดินเร็ว หรือว่ายน้ำ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการกระเทือนต่อกระดูกคอ
    บริหารกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรงด้วยท่าบริหารที่แพทย์แนะนำ
    ระวังป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บที่บริเวณคอ หรือเกิดแรงเสียดสีซ้ำ ๆ ที่กระดูกคอ

ข้อแนะนำ

1. อาการปวดคอและปวดร้าวลงมาที่แขน นอกจากกระดูกคอเสื่อมแล้ว ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอเคลื่อน เนื้องอกไขสันหลัง เป็นต้น

2. อาการปวดคอจากกระดูกคอเสื่อม หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาการอาจคงที่หรือดีขึ้นได้เอง หรืออาจเลวลง จนในที่สุดอาจมีการกดรากประสาทและไขสันหลังจนเกิดภาวะแทรกซ้อนได้



โปรแกรมหมอประจำบ้านอัจริยะ: กระดูกคอเสื่อม / กระดูกคองอกกดรากประสาท (Cervical spondylosis) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com
บันทึกการเข้า