หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อ “โรคหลายบุคลิก” หรือเคยได้ดูภาพยนตร์ที่มีตัวละครเป็นโรคหลายบุคลิกกันมาบ้างแล้ว โรคหลายบุคลิกนี้ไม่ใช่แค่ความแฟนตาซีที่ถูกสร้างขึ้นในโลกภาพยนตร์เท่านั้น แต่เป็นโรคทางจิตที่มีอยู่จริง โรคนี้ส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย และมักสร้างปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมบางอย่างโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจรวมถึงการทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายด้วย
โรคหลายบุคลิก คืออะไร?
โรคหลายบุคลิก (Multiple Personality Disorder หรือ MPD) จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งในกลุ่มโรคดิสโซสิเอทีฟ (Dissociative Disorders) ปัจจุบันถูกเปลี่ยนชื่อเป็นโรคหลายอัตลักษณ์ (Dissociative Identity Disorder หรือ DID) แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังคงคุ้นเคยกับชื่อโรคหลายบุคลิกมากกว่า คำว่า “อัตลักษณ์ (Identity)” หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ โดยปกติแล้ว คนเราจะมีเพียงอัตลักษณ์เดียวเท่านั้น แต่ผู้ที่เป็นโรคหลายบุคลิกหรือโรคหลายอัตลักษณ์ มักมีมากกว่าหนึ่งอัตลักษณ์ ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการทางจิต (mental process) ทำให้สติ ความคิด ความทรงจำ อารมณ์ความรู้สึก การกระทำ และการยอมรับอัตลักษณ์ของตนเองแยกจากกันโดยสิ้นเชิง ไม่ปะติดปะต่อกัน ผู้ป่วยโรคนี้จึงแสดงพฤติกรรมและอารมณ์ไม่ต่อเนื่องและไม่เหมือนกัน หรือมีบุคลิกภาพแตกแยก ราวกับว่ามีหลายคนอยู่ในร่างเดียว
วิธีสังเกตอาการของโรคหลายบุคลิก
สัญญาณและอาการของโรคหลายบุคลิก หรือโรคหลายอัตลักษณ์ ในผู้ใหญ่ มีดังนี้
รู้สึกสับสน มีบุคลิกภาพ หรืออัตลักษณ์มากกว่า 2 แบบ โดยแต่ละแบบแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน และผลัดกันแสดงออกมา
ทำความเข้าใจ “โรคหลายบุคลิก” อาการทางจิตที่มาพร้อมความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย ดูเพิ่มเติมที่นี่ http://สุขภาพ.cc/