หอพักขอนแก่น,หอพัก ขจรศักดิ์ ขอนแก่น, หอพัก ศศิธร ขอนแก่น, หอพัก ถูก ขอนแก่น, หอพัก อยู่สบาย ขอนแก่น หน้าค่าย ร.8 ใกล้สนามบินขอนแก่น,

ผู้เขียน หัวข้อ: การประเมินค่าเรือ  (อ่าน 773 ครั้ง)

Trebs15

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 70
    • ดูรายละเอียด
การประเมินค่าเรือ
« เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2021, 02:05:02 pm »

การประเมินค่าเรือ



เคยสงสัยกันหรือเปล่า ว่าเรือที่เราเห็นขนสินค้ากัน เราจะประเมินค่าเรือได้อย่างไร เรือที่เราพูดกันถึงหมายรวมตั้งแต่เรือเดินทะเล เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ เรือลากเรือ เรือลากจูง เรือยอร์ช หรือวัตถุลอยน้ำที่ใช้บรรทุกสิ่งของต่างๆ

ดร.โสภณ พรโชคชัย ได้ชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประเมินค่าเรือเดินทะเลโดยเริ่มต้นพิจารณาจากผู้ผลิต รุ่น และความจำเพาะ-เงื่อนไขต่างๆ  เป็นสิ่งที่แน่นอนว่า ถ้าเรืออยู่ในสภาพดี หรือเพิ่งผลิต ก็สามารถใช้วิธีต้นทุนได้ไม่ยาก  แต่ถ้าเรือที่อยู่ในสภาพไม่ดี ใช้งานมานานพอสมควรแล้ว หรือขาดการบำรุงรักษาเท่าที่ควร ราคาก็คงจะตกต่ำลงไปมาก ยิ่งไปกว่านั้น ชื่อเสียงของบริษัทผู้ผลิต ประสิทธิภาพ และความนิยมของรุ่นนั้น ๆ ก็มีส่วนสำคัญในการพิจารณามูลค่าของเรืออีกด้วย

การประเมินค่าเรือก็คล้ายกับการประเมินค่าทรัพย์สินอื่นๆ ที่เราต้องพิจารณาถึงสภาวะตลาด ตัวอย่างเช่น เมื่อการประมงไทยกำลังเฟื่องฟู ราคาเรือประมงก็สูงตามไปด้วย  อาจกล่าวได้ว่ามูลค่าของเราจะสูงกว่าเมื่อเศรษฐกิจดี แต่ถ้าเศรษฐกิจตกต่ำ เรือก็ไม่ค่อยได้รับความต้องการ ทำให้มูลค่าที่ประเมินได้ตกต่ำตามไปด้วย  อย่างไรก็ตามผู้ประเมินก็พึงพิจารณาถึงภาวะตลาดให้ชัดเจน เช่น เรือที่ใช้ขนถ่ายน้ำมัน หากการขนส่งนี้ยกเลิกไป หรือหดตัวตกต่ำลง เรือนั้นๆ จะนำไปใช้ในกิจการเรือประเภทอื่นที่ยังอยู่ในภาวะที่ดีได้หรือไม่ เป็นต้น

ในการผลิตเรือลำหนึ่ง อาจมีค่าแรงกับค่าเครื่อง ค่าอุปกรณ์ประกอบเรืออยู่ในองค์ประกอบที่ 40 : 60 โดย 40 คือค่าแรงนั่นเอง ที่ค่าแรงแพงเพราะมักประกอบในต่างประเทศ เช่น ไปประกอบเรือที่เกาหลี ค่าแรงจึงแพงกว่าค่าแรงในไทย เช่น คนทาสีอาจมีค่าแรงเดือนละ 70,000 – 80,000 บาท แต่เครื่องยนต์ อาจเป็นเครื่องยันมาร์จากประเทศญี่ปุ่น แต่ส่วนมากไม่ไปประกอบที่ญี่ปุ่นเพราะค่าแรงในญี่ปุ่นแพงหนักกว่าในเกาหลีเสียอีก  ในประเทศไทยก็สามารถต่อเรือเองได้บ้าง แต่ไม่นิยมต่อเรือในไทย เพราะเครื่องจักรต่างๆ ต้องนำเข้า (ไม่ใช่แบบจีนที่ทำเองได้แทบทุกอย่าง) ทำให้ต้นทุนอาจแพงพอๆ กับการไปสั่งทำจากต่างประเทศ


ปกติแล้ว เรือลำหนึ่งมีอายุใช้งานประมาณ 25 ปี หลังจากนั้น ก็อาจปลดระวางจากการใช้งาน หรือนำเรือไปซ่อมใหญ่เพื่อใช้ในธุรกิจที่ต้องการคุณภาพเรือที่ต่ำกว่า ราคาซากเมื่ออายุครบ 25 ปีอาจไม่ถึง 10% ของต้นทุนค่าก่อสร้าง นอกจากนี้เรายังอาจขายเครื่องจักรต่างๆ ภายในเรือเป็นชิ้นๆ ไป  บางทีการขายชิ้นส่วนทีละชิ้นอาจได้มูลค่ามากกว่าการขายเหมาไปก็ได้ กรณีนี้ก็เช่นเดียวกันกับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต่างๆ ที่เวลาขายซากของทรัพย์สินแยกส่วน อาจจะมีราคามากกว่าการขายเหมารวม ก็เป็นไปได้เช่นกัน  อาจกล่าวได้ว่าเรือต่างๆ ไม่ค่อยตกยุคเหมือนเครื่องบิน เพราะเทคโนโลยีการเดินเรือก็ได้มาตรฐานที่ดีมานาน ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก   


ในการประเมินค่าเรือ เรายังอาจพิจารณาวิธีรายได้ด้วยก็ได้ โดยถือสมมติฐานว่าการตัดสินใจลงทุน (ซื้อ/ต่อเรือ) ขึ้นอยู่กับมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ในอนาคตที่จะได้รับจากการลงทุนและมูลค่าของสินทรัพย์หนึ่งๆ จะแสดงด้วยมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต เช่น ถ้านำเรือนี้ไปรับจ้างขนสินค้า ตลาดของสินค้านั้นๆ  จะมีอนาคตมากน้อยเพียงใด มีรายได้จากการขนส่งมากแค่ไหนในแต่ละปี การเปลี่ยนแปลงของรายได้ในอนาคตจะเป็นอย่างไร เทียบกับต้นทุนค่าซื้อ/ต่อเรือดังกล่าวมาแล้ว อัตราผลตอบแทนดังกล่าวคุ้มค่าหรือไม่ เป็นต้น




สามารถติดต่อและสอบถามรายละเอียดของบริการได้ที่
โทร.02-295-3905 ต่อ 114 (K.สัญชัย)
Email : lek2@trebs.ac.th
Line ID : @areavaluation หรือคลิก https://lin.ee/8pZYu1C




[Tag] : ประเมินค่าทรัพย์สิน , ประเมินมูลค่า , ประเมินเริือ , ประเมินราคาเรือ , ราคาค่าเรือ , การประเมินค่าเรือ , ประเมินทรัพย์สิน , ประเมินมูลค่าเรือ , เรือสินค้า , โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย , อบรมอสังหา , อสังหาริมทรัพย์ , อสังหา , อสังหาฯ
บันทึกการเข้า