หลายคนคงทราบดีว่า การรับประทานอาหารและการควบคุมอาหารให้มีสุขภาพดีควรรับประทานอย่างไร อันดับแรกเลยคือ เราควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งในแต่ละหมู่ให้รับประทานอย่างหลากหลาย เพื่อที่จะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนมากขึ้น และควรหมั่นตรวจเช็คน้ำหนักตัว โดยการยึดอาหารหลัก 5 หมู่นี้ ในแต่ละหมู่นั้น ก็มีความหลากหลายของสารอาหารไม่จำเจ
แต่เราควรให้น้ำหนักตัวเป็นเครื่องบ่งชี้อย่างง่ายถึงภาวะสุขภาพ สำหรับในผู้ใหญ่ที่รับประทานอาหารได้เหมาะสม ก็จะมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมตามไปด้วย แต่หากสังเกตว่าเรามีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากน้ำหนักปกติ นั่นแสดงให้เห็นว่าเราเริ่มรับประทานอาหารมากเกินไป ควรจะต้องหันมาควบคุมและลดปริมาณของอาหารที่รับประทานในแต่ละวันให้น้อยลง นอกจากนี้เราควรรับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก โดยควรรับประทานสลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ โดยควรรับประทานข้าวซ้อมมือ เนื่องจากมีวิตามิน แร่ธาตุ โปรตีนและใยอาหารมากกว่าข้าวที่ขัดสีจนขาว
นอกจากนี้ ควรรับประทานพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ และในส่วนของเนื้อสัตว์ ผู้ป่วยควรรับประทานปลาหรือเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ การกินอาหารที่ให้โปรตีน ควรเน้นเนื้อปลาและอาหารประเภทถั่วเมล็ดแห้ง สำหรับเนื้อสัตว์ ให้เลือกที่เนื้อไม่ติดมัน ที่มีมันน้อย รวมไปถึง ไข่ก็เป็นอาหารที่มีประโยชน์ควรกินเป็นประจำแต่ผู้ที่มีปัญหาในเรื่องของภาวะคลอเรสเตอรอลสูงในเลือดควรลดปริมาณลง
สำหรับ อาหารสุขภาพ อาหารเฉพาะโรค ที่เหมาะสมกับผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ควรรับประทานแบบไหนเพื่อให้มีการควบคุมอาหารสำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ซึ่งอย่างแรกเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าโดยปกติคนเราส่วนใหญ่ควรที่จะรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อที่จะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย และควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทของทอด ผัด ที่ใช้น้ำมันแต่ให้เปลี่ยนเป็นการรับประทานอาหารแบบ ต้มนึ่ง
ซึ่งไม่ใช้น้ำมัน แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้น้ำมัน ควรใช้เป็นน้ำมันพืช ที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด รำข้าว เมล็ดดอกคำฝอย ส่วนน้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าวนั้น ควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากจะทำให้แอลดีแอลสูงทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบแข็งได้ง่ายนอกจากนี้ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นไขมันในเลือดสูง ควรที่จะงดรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อติดมัน และหนังถ้าจะรับประทานให้เอามันและหนังออกก่อน รวมไปถึงเครื่องในสัตว์ทุกชนิด ก็ควรหลีกเลี่ยง ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานได้แต่นานๆครั้ง ได้แก่ อาหารทะเลพวกกุ้ง ปู ปลาหมึก ไข่แดง ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น และอาหารที่สามารถรับประทานได้เป็นประจำคือ เนื้อไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง ไข่ขาว เนื้อปลา ถั่วและธัญพืชชนิดต่างๆ ควรรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำทุกมื้ออาหาร เนื่องจากจะช่วยลดการดูดซึมไขมันจากอาหารอื่นๆ เข้าสู่ร่างกายและยังเป็นการเพิ่มกากใยในอุจจาระทำให้ไม่เกิดท้องผูกอีกด้วย
อาหารสุขภาพ อาหารเฉพาะโรค สำหรับผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง อ่านบาทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://thetastefood.com/