วิตามินมากมายแต่ละประเภทมีสรรพคุณแตกต่างกัน แต่การรับประทานวิตามินติดต่อกันเป็นเวลานานจะดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่
วิตามินคืออะไร?
วิตามิน (Vitamins) คือสารอาหารชนิดหนึ่งที่ควรได้รับ ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง หากรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ครบทั้งสามมื้อ ร่างกายก็จะไม่มีภาวะขาดวิตามินและไม่จำเป็นต้องรับประทานวิตามินเสริม แต่สำหรับบางรายที่มีภาวะของโรคบางอย่างอาจทำให้ขาดวิตามินได้ จึงจำเป็นต้องรับประทานวิตามินเสริม แต่ก็ควรรับประทานแค่พอดีไม่มากจนเกินไป
วิตามินสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
– วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามิน B และ C สามารถคงอยู่ได้ในร่างกายเป็นระยะเวลาสั้นๆ ส่วนที่เหลือจากการใช้งาน จะถูกขับออกทางไตมากับปัสสาวะ
– วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ A D E K ต้องอาศัยไขมันในการเปลี่ยนรูป เพื่อให้ผนังลำไส้สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ไม่สามารถขับออกมาทางปัสสาวะได้ หากได้รับมากเกินไป จะเก็บสะสมไว้ในร่างกายและอาจจะเป็นอันตรายได้
รู้จักกับวิตามินแต่ละประเภท
1. วิตามิน A
ช่วยในการมองเห็น รักษาการคงสภาพของเยื่อบุผิว พบได้ในผักผลไม้สีเหลือง สีเขียว สีส้ม เช่น แครอท มะเขือเทศ ฟักทอง โดยทั่วไปไม่มีปริมาณที่แนะนำต่อวันว่าควรรับประทานในปริมาณที่เท่าไหร่ แต่จากการศึกษาจะมีสารบางชนิดที่สามารถเทียบอ้างอิงได้ว่าเพียงพอต่อความต้องการที่จะช่วยบำรุงสายตา คือมีปริมาณลูทีน 25 – 30 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งหากเทียบกับคะน้าหรือปวยเล้ง ประมาณ 1 กำมือหรือ 250 กรัม จะมีลูทีนประมาณ 11 – 15 มิลลิกรัม ดังนั้นหากรับประทานคะน้าหรือปวยเล้ง ประมาณ 1 กำมือใหญ่หรือ 300 กรัม ก็จะได้รับสารอาหารพอดีต่อความต้องการของร่างกาย แต่หากทำให้คะน้าหรือปวยเล้งสุกลูทีนก็อาจจะน้อยลง
อย่างไรก็ตาม หากรับประทานผักผลไม้สีเหลืองในปริมาณมาก ๆ ร่วมกับการรับประทานวิตามิน A ในรูปแบบอาหารเสริม อาจทำให้มีโอกาสเกิดตัวเหลือง ตาเหลือง ควรหยุดรับประทานและปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัย
2. วิตามิน B
แบ่งได้หลายประเภท เช่น B1 B2 B6 B7 B12 โดยจะเรียกรวมกันว่า วิตามิน B Complex ช่วยในการนำสารอาหารประเภทไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนไปใช้ในรูปแบบพลังงาน ส่วนใหญ่พบในเนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว เป็นต้น
3. วิตามิน C
ช่วยในการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของผิว ช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก รวมถึงเพิ่มภูมิต้านทาน ปริมาณวิตามิน C ที่ควรได้รับต่อวันของประชากรไทย ในผู้ใหญ่เพศชายเท่ากับ 100 มิลลิกรัมและเพศหญิง 85 มิลลิกรัม ทั้งนี้วิตามิน C ยังมีจุดอิ่มตัวของการดูดซึม หมายถึงหากจุดอิ่มตัวอยู่ที่ 10 แต่รับประทานวิตามิน C ไป 15 สุดท้ายก็จะได้รับวิตามิน C ได้แค่ 10 เท่านั้น
นอกจากนี้ มีการศึกษาว่าในช่วงปริมาณในการรับประทานวิตามินตั้งแต่ 1,000 – 1,500 มิลลิกรัม เราจะสามารถดูดซึมได้แค่ 50% เท่านั้น เพราะฉะนั้นบางรายที่รับประทานวิตามิน C มาก ๆ ส่วนเกินของวิตามิน C ที่ไม่ได้ใช้จะถูกขับออกทางไตในรูปแบบปัสสาวะ อาจทำให้มีผลกระทบต่อไต เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรรับประทานวิตามิน C ในปริมาณมากเกินไป
4. วิตามิน D
มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างกระดูก ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้เล็ก ปรับสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกายไม่ให้ตัวใดตัวหนึ่งมีปริมาณมากจนเกินไป โดยทั่วไปร่างกายได้รับวิตามิน D มาจาก 2 แหล่งได้แก่จากการสร้างวิตามิน D ที่ผิวหนังหลังจากที่ได้รับรังสี UVB จากแสงแดด โดยคิดเป็นร้อยละ 80-90 และอีกประมาณร้อยละ 10-20 ได้รับมาจากอาหารซึ่งสามารถพบได้ในเห็ด น้ำมันตับปลา ไข่แดง ฯลฯ ปริมาณวิตามิน D ที่แนะนำให้รับประทานต่อวันจะขึ้นกับช่วงอายุโดยผู้ที่อายุ 19 ถึง 70 ปี เท่ากับ 600 IU ต่อวัน มีบางรายงานระบุว่าการได้รับวิตามิน D ในปริมาณเกิน 40,000 IU* (1,000 ไมโครกรัม) ต่อวันอาจพบภาวะวิตามิน D เป็นพิษได้ การรับประทานวิตามิน D ควรที่จะปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อตรวจร่างกายก่อนว่าควรรับประทานหรือไม่ เพื่อความปลอดภัย
*หมายเหตุ: IU ย่อมาจากคำว่า International Unit ภาษาไทยเรียกว่า “หน่วยสากล”
โดย 40,000 IU = 1,000 ไมโครกรัม = 1 มิลลิกรัม
5. วิตามิน E
ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอนุมูลอิสระเกิดจากความเครียดของร่างกาย ไม่เพียงเกิดจากการรับรู้ ยังรวมไปถึงเกิดจากการกระตุ้นจากภาวะบางอย่าง เช่น วิ่งหักโหม ทำงานหนัก ทำให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นมาได้ หากอนุมูลอิสระเกิดขึ้นที่ผิวหนังก็จะทำให้ผิวหนังเ...่ยวย่น หากเกิดที่ผมอาจทำให้ผมเปราะบาง เป็นต้น เมื่อมีสารต้านอนุมูลอิสระเข้ามาช่วยเปรียบเสมือนฟองน้ำไว้ดูดซับอนุมูลอิสระไว้ชะลอความเสื่อมของร่างกาย
แต่วิตามิน E มีข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในการดูแลของแพทย์ เนื่องจากวิตามิน E ส่งผลต่อเลือด ทำให้เลือดออกง่ายขึ้น เพราะฉะนั้นการรับประทานยาบางชนิด ยกตัวอย่างเช่นในผู้ป่วยบางรายที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด เช่น วาร์ฟาริน แอสไพริน ซึ่งเป็นยาที่ทำให้เลือดออกง่าย หากรับประทานวิตามิน E เพิ่มเข้าไปอีกก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เลือดออกง่ายขึ้น จึงควรอยู่ในการดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร
6. วิตามิน K
มีส่วนช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด ช่วยบำรุงกระดูกโดยการสังเคราะห์โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกระดูก ปริมาณวิตามิน K ที่ควรได้รับประจำวันในผู้ที่อายุ 19 ปีขึ้นไปในเพศชาย เท่ากับ 120 ไมโครกรัมและเพศหญิงเท่ากับ 90 ไมโครกรัม แหล่งอาหารที่มีวิตามิน K สูงได้แก่ ผักใบเขียว เช่น ปวยเล้ง บรอกโคลี กะหล่ำปลี ผักกาดแก้ว ฯลฯ นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในน้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมัน canola เป็นต้น ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่เกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากการกินอาหารที่มีวิตามิน K เป็นส่วนประกอบตามธรรมชาติส่วนวิตามิน K สังเคราะห์มีรายงานว่าอาจทำให้เกิดการทำลายเนื้อตับได้
การรับประทานวิตามินเสริม
วิตามินสามารถรับประทานได้ตั้งแต่เด็กทารก อายุ 1 เดือนขึ้นไปจนถึงผู้สูงอายุ เนื่องจากวิตามินทุกชนิดเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย แต่ควรรับประทานตามความจำเป็น เช่น ภาวะขาดวิตามินหรือได้รับวิตามินจากอาหารไม่เพียงพอ
ดังนั้น อายุไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการรับประทานวิตามินเสริม ซึ่งผลิตภัณฑ์วิตามินต่าง ๆ จะใส่ปริมาณให้เหมาะสมกับช่วงอายุ เช่น เด็กเล็กอาจได้รับวิตามินที่มีปริมาณน้อยกว่าเด็กโตหรือผู้ใหญ่ เพราะร่างกายต้องการใช้ปริมาณวิตามินน้อยกว่า แต่ในบางรายที่มีการใช้ยาบางชนิดซึ่งอาจส่งผลต่อการดูดซึมของวิตามินได้ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน
คำถามที่พบบ่อยเรื่องวิตามิน
วิตามินประเภทไหนช่วยบำรุงผม?
วิตามิน B7 หรือไบโอติน ช่วยบำรุงเรื่องผมเปราะ แตกหักง่าย เพิ่มความแข็งแรงให้กับเส้นผม เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับรากผมได้ แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนใช้ทุกครั้งควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนเสมอ
วัยทำงานควรรับประทานวิตามินประเภทไหน?
หากทำงานแล้วเกิดความเครียด ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง อาจเกิดภาวะขาดวิตามินได้ ซึ่งวิตามินที่นิยมส่วนใหญ่ที่คนทั่วไปรับประทานกันจะเป็นวิตามิน B Complex ซึ่งช่วยนำสารอาหารต่าง ๆ มาแปลงเป็นพลังงานให้ร่างกายได้
หากรู้สึกเหนื่อยล้า เพราะทำงานหนักทั้งวัน อาจรับประทานน้ำผสมน้ำตาลเกลือแร่และวิตามิน B รวม ก็เป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู แต่อย่างไรก็ตามแนะนำให้งีบ หรือพักผ่อนร่วมด้วยก็จะช่วยให้ฟื้นฟูได้เช่นกัน เนื่องจากวิตามินอาจช่วยได้ไม่เพียงพอเท่ากับการพักผ่อน
นอกจากนี้ยังมีวิตามินที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามิน C E หากไม่มีข้อห้ามหรือข้อควรระวังอะไรก็สามารถรับประทานได้เพื่อป้องกันความเสื่อมของร่างกาย
ผู้สูงอายุควรรับประทานวิตามินประเภทไหน?
วิตามินที่เหมาะสมในผู้สูงอายุ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน เนื่องจากในผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีโรคประจำตัวร่วมด้วย จึงมีความเหมาะสมในการรับประทานวิตามินที่แตกต่างกันไป ซึ่งที่นิยมจะเป็นวิตามิน B ช่วยในเรื่องของการดูดซึม ปรับสมดุลแคลเซียมและฟอสเฟส รวมถึงความแข็งแรงของกระดูก หรือหากไม่ทราบว่าขาดวิตามินชนิดไหนสามารถตรวจดูได้จากการเจาะเลือดตรวจ โดยแพทย์จะประเมินจากผลตรวจค่าในเลือดว่าควรรับประทานวิตามินเสริมหรือไม่
เทคนิคเลือกชื้อวิตามินให้ปลอดภัย
1. ฉลากต้องระบุชื่อยี่ห้อ ส่วนประกอบ และปริมาณอย่างชัดเจน
2. ได้รับรองการจดทะเบียนจาก อย.
3. มีที่อยู่ของผู้ผลิตผู้แทนจำหน่ายชัดเจน
4. มีวันผลิต วันหมดอายุ และวิธีการเก็บรักษา
วิตามินคืออะไร?
วิตามิน (Vitamins) คือสารอาหารชนิดหนึ่งที่ควรได้รับ ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง หากรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ครบทั้งสามมื้อ ร่างกายก็จะไม่มีภาวะขาดวิตามินและไม่จำเป็นต้องรับประทานวิตามินเสริม แต่สำหรับบางรายที่มีภาวะของโรคบางอย่างอาจทำให้ขาดวิตามินได้ จึงจำเป็นต้องรับประทานวิตามินเสริม แต่ก็ควรรับประทานแค่พอดีไม่มากจนเกินไป
วิตามินสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
– วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามิน B และ C สามารถคงอยู่ได้ในร่างกายเป็นระยะเวลาสั้นๆ ส่วนที่เหลือจากการใช้งาน จะถูกขับออกทางไตมากับปัสสาวะ
– วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ A D E K ต้องอาศัยไขมันในการเปลี่ยนรูป เพื่อให้ผนังลำไส้สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ไม่สามารถขับออกมาทางปัสสาวะได้ หากได้รับมากเกินไป จะเก็บสะสมไว้ในร่างกายและอาจจะเป็นอันตรายได้
รู้จักกับวิตามินแต่ละประเภท
1. วิตามิน A
ช่วยในการมองเห็น รักษาการคงสภาพของเยื่อบุผิว พบได้ในผักผลไม้สีเหลือง สีเขียว สีส้ม เช่น แครอท มะเขือเทศ ฟักทอง โดยทั่วไปไม่มีปริมาณที่แนะนำต่อวันว่าควรรับประทานในปริมาณที่เท่าไหร่ แต่จากการศึกษาจะมีสารบางชนิดที่สามารถเทียบอ้างอิงได้ว่าเพียงพอต่อความต้องการที่จะช่วยบำรุงสายตา คือมีปริมาณลูทีน 25 – 30 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งหากเทียบกับคะน้าหรือปวยเล้ง ประมาณ 1 กำมือหรือ 250 กรัม จะมีลูทีนประมาณ 11 – 15 มิลลิกรัม ดังนั้นหากรับประทานคะน้าหรือปวยเล้ง ประมาณ 1 กำมือใหญ่หรือ 300 กรัม ก็จะได้รับสารอาหารพอดีต่อความต้องการของร่างกาย แต่หากทำให้คะน้าหรือปวยเล้งสุกลูทีนก็อาจจะน้อยลง
อย่างไรก็ตาม หากรับประทานผักผลไม้สีเหลืองในปริมาณมาก ๆ ร่วมกับการรับประทานวิตามิน A ในรูปแบบอาหารเสริม อาจทำให้มีโอกาสเกิดตัวเหลือง ตาเหลือง ควรหยุดรับประทานและปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัย
2. วิตามิน B
แบ่งได้หลายประเภท เช่น B1 B2 B6 B7 B12 โดยจะเรียกรวมกันว่า วิตามิน B Complex ช่วยในการนำสารอาหารประเภทไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนไปใช้ในรูปแบบพลังงาน ส่วนใหญ่พบในเนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว เป็นต้น
3. วิตามิน C
ช่วยในการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของผิว ช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก รวมถึงเพิ่มภูมิต้านทาน ปริมาณวิตามิน C ที่ควรได้รับต่อวันของประชากรไทย ในผู้ใหญ่เพศชายเท่ากับ 100 มิลลิกรัมและเพศหญิง 85 มิลลิกรัม ทั้งนี้วิตามิน C ยังมีจุดอิ่มตัวของการดูดซึม หมายถึงหากจุดอิ่มตัวอยู่ที่ 10 แต่รับประทานวิตามิน C ไป 15 สุดท้ายก็จะได้รับวิตามิน C ได้แค่ 10 เท่านั้น
นอกจากนี้ มีการศึกษาว่าในช่วงปริมาณในการรับประทานวิตามินตั้งแต่ 1,000 – 1,500 มิลลิกรัม เราจะสามารถดูดซึมได้แค่ 50% เท่านั้น เพราะฉะนั้นบางรายที่รับประทานวิตามิน C มาก ๆ ส่วนเกินของวิตามิน C ที่ไม่ได้ใช้จะถูกขับออกทางไตในรูปแบบปัสสาวะ อาจทำให้มีผลกระทบต่อไต เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรรับประทานวิตามิน C ในปริมาณมากเกินไป
4. วิตามิน D
มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างกระดูก ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้เล็ก ปรับสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกายไม่ให้ตัวใดตัวหนึ่งมีปริมาณมากจนเกินไป โดยทั่วไปร่างกายได้รับวิตามิน D มาจาก 2 แหล่งได้แก่จากการสร้างวิตามิน D ที่ผิวหนังหลังจากที่ได้รับรังสี UVB จากแสงแดด โดยคิดเป็นร้อยละ 80-90 และอีกประมาณร้อยละ 10-20 ได้รับมาจากอาหารซึ่งสามารถพบได้ในเห็ด น้ำมันตับปลา ไข่แดง ฯลฯ ปริมาณวิตามิน D ที่แนะนำให้รับประทานต่อวันจะขึ้นกับช่วงอายุโดยผู้ที่อายุ 19 ถึง 70 ปี เท่ากับ 600 IU ต่อวัน มีบางรายงานระบุว่าการได้รับวิตามิน D ในปริมาณเกิน 40,000 IU* (1,000 ไมโครกรัม) ต่อวันอาจพบภาวะวิตามิน D เป็นพิษได้ การรับประทานวิตามิน D ควรที่จะปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อตรวจร่างกายก่อนว่าควรรับประทานหรือไม่ เพื่อความปลอดภัย
*หมายเหตุ: IU ย่อมาจากคำว่า International Unit ภาษาไทยเรียกว่า “หน่วยสากล”
โดย 40,000 IU = 1,000 ไมโครกรัม = 1 มิลลิกรัม
5. วิตามิน E
ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอนุมูลอิสระเกิดจากความเครียดของร่างกาย ไม่เพียงเกิดจากการรับรู้ ยังรวมไปถึงเกิดจากการกระตุ้นจากภาวะบางอย่าง เช่น วิ่งหักโหม ทำงานหนัก ทำให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นมาได้ หากอนุมูลอิสระเกิดขึ้นที่ผิวหนังก็จะทำให้ผิวหนังเ...่ยวย่น หากเกิดที่ผมอาจทำให้ผมเปราะบาง เป็นต้น เมื่อมีสารต้านอนุมูลอิสระเข้ามาช่วยเปรียบเสมือนฟองน้ำไว้ดูดซับอนุมูลอิสระไว้ชะลอความเสื่อมของร่างกาย
แต่วิตามิน E มีข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในการดูแลของแพทย์ เนื่องจากวิตามิน E ส่งผลต่อเลือด ทำให้เลือดออกง่ายขึ้น เพราะฉะนั้นการรับประทานยาบางชนิด ยกตัวอย่างเช่นในผู้ป่วยบางรายที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด เช่น วาร์ฟาริน แอสไพริน ซึ่งเป็นยาที่ทำให้เลือดออกง่าย หากรับประทานวิตามิน E เพิ่มเข้าไปอีกก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เลือดออกง่ายขึ้น จึงควรอยู่ในการดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร
6. วิตามิน K
มีส่วนช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด ช่วยบำรุงกระดูกโดยการสังเคราะห์โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกระดูก ปริมาณวิตามิน K ที่ควรได้รับประจำวันในผู้ที่อายุ 19 ปีขึ้นไปในเพศชาย เท่ากับ 120 ไมโครกรัมและเพศหญิงเท่ากับ 90 ไมโครกรัม แหล่งอาหารที่มีวิตามิน K สูงได้แก่ ผักใบเขียว เช่น ปวยเล้ง บรอกโคลี กะหล่ำปลี ผักกาดแก้ว ฯลฯ นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในน้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมัน canola เป็นต้น ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่เกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากการกินอาหารที่มีวิตามิน K เป็นส่วนประกอบตามธรรมชาติส่วนวิตามิน K สังเคราะห์มีรายงานว่าอาจทำให้เกิดการทำลายเนื้อตับได้
การรับประทานวิตามินเสริม
วิตามินสามารถรับประทานได้ตั้งแต่เด็กทารก อายุ 1 เดือนขึ้นไปจนถึงผู้สูงอายุ เนื่องจากวิตามินทุกชนิดเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย แต่ควรรับประทานตามความจำเป็น เช่น ภาวะขาดวิตามินหรือได้รับวิตามินจากอาหารไม่เพียงพอ
ดังนั้น อายุไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการรับประทานวิตามินเสริม ซึ่งผลิตภัณฑ์วิตามินต่าง ๆ จะใส่ปริมาณให้เหมาะสมกับช่วงอายุ เช่น เด็กเล็กอาจได้รับวิตามินที่มีปริมาณน้อยกว่าเด็กโตหรือผู้ใหญ่ เพราะร่างกายต้องการใช้ปริมาณวิตามินน้อยกว่า แต่ในบางรายที่มีการใช้ยาบางชนิดซึ่งอาจส่งผลต่อการดูดซึมของวิตามินได้ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน
คำถามที่พบบ่อยเรื่องวิตามิน
วิตามินประเภทไหนช่วยบำรุงผม?
วิตามิน B7 หรือไบโอติน ช่วยบำรุงเรื่องผมเปราะ แตกหักง่าย เพิ่มความแข็งแรงให้กับเส้นผม เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับรากผมได้ แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนใช้ทุกครั้งควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนเสมอ
วัยทำงานควรรับประทานวิตามินประเภทไหน?
หากทำงานแล้วเกิดความเครียด ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง อาจเกิดภาวะขาดวิตามินได้ ซึ่งวิตามินที่นิยมส่วนใหญ่ที่คนทั่วไปรับประทานกันจะเป็นวิตามิน B Complex ซึ่งช่วยนำสารอาหารต่าง ๆ มาแปลงเป็นพลังงานให้ร่างกายได้
หากรู้สึกเหนื่อยล้า เพราะทำงานหนักทั้งวัน อาจรับประทานน้ำผสมน้ำตาลเกลือแร่และวิตามิน B รวม ก็เป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู แต่อย่างไรก็ตามแนะนำให้งีบ หรือพักผ่อนร่วมด้วยก็จะช่วยให้ฟื้นฟูได้เช่นกัน เนื่องจากวิตามินอาจช่วยได้ไม่เพียงพอเท่ากับการพักผ่อน
นอกจากนี้ยังมีวิตามินที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามิน C E หากไม่มีข้อห้ามหรือข้อควรระวังอะไรก็สามารถรับประทานได้เพื่อป้องกันความเสื่อมของร่างกาย
ผู้สูงอายุควรรับประทานวิตามินประเภทไหน?
วิตามินที่เหมาะสมในผู้สูงอายุ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน เนื่องจากในผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีโรคประจำตัวร่วมด้วย จึงมีความเหมาะสมในการรับประทานวิตามินที่แตกต่างกันไป ซึ่งที่นิยมจะเป็นวิตามิน B ช่วยในเรื่องของการดูดซึม ปรับสมดุลแคลเซียมและฟอสเฟส รวมถึงความแข็งแรงของกระดูก หรือหากไม่ทราบว่าขาดวิตามินชนิดไหนสามารถตรวจดูได้จากการเจาะเลือดตรวจ โดยแพทย์จะประเมินจากผลตรวจค่าในเลือดว่าควรรับประทานวิตามินเสริมหรือไม่
เทคนิคเลือกชื้อวิตามินให้ปลอดภัย
1. ฉลากต้องระบุชื่อยี่ห้อ ส่วนประกอบ และปริมาณอย่างชัดเจน
2. ได้รับรองการจดทะเบียนจาก อย.
3. มีที่อยู่ของผู้ผลิตผู้แทนจำหน่ายชัดเจน
4. มีวันผลิต วันหมดอายุ และวิธีการเก็บรักษา
กระชายมหิดล: วิตามิน รับประทานอย่างไรให้ปลอดภัย (Vitamins) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mmed.com/product/mmed-finger-root-extract-plus-beta-glucan/