กระชายขาว ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในช่วงของภาวะโรคระบาดจากเชื้อไวรัส อย่างโรคโควิด (Covid-19) จึงมีการทดลองและพัฒนา สารสกัดกระชายขาว เพื่อใช้เป็นยายับยั้งเชื้อไวรัส โดยความสำเร็จมาจากนักวิจัยของ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า “สารสกัดกระชายขาว” มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสได้
งานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือของคณะวิทยาศาสตร์ และ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน) หรือ TCELS พบว่า สารสกัดกระชายขาว สามารถทำหน้าที่ยับยั้งการผลิตและการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส อีกทั้งยังสามารถลดจำนวนเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสได้กว่า 100%
สารสกัดกระชายขาว มีสารสำคัญ 2 ตัวคือ
PandulatinA (แพนดูเรทีน-เอ) ซึ่งเป็นสารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากเหง้าของกระชายขาว มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อไวรัสก่อโรค ทั้งการยับยั้งเชื้อไวรัสก่อนเข้าสู่เซลล์หรือการป้องกันการติดเชื้อ และการยับยั้งไวรัสภายหลังจากไวรัสเข้าสู่เซลล์หรือการรักษาภายหลังการติดเชื้อแล้ว จึงค่อนข้างมีความปลอดภัยต่อการนำมาใช้
Pinostrobin (พิโนสโตรบิน) เป็นองค์ประกอบทางเคมีชนิดหลักที่พบในกระชายขาว ซึ่งเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย เช่น ต้านเชื้อแคนดิดาอัลบิแคนส์ ต้านเชื้อไวรัส ต้านออกซิเดชัน ต้านอักเสบ ต้านลิวคิเมีย ต้านเอนไซม์อโรมาเทส (anti-aromatase) ต้านเซลล์มะเร็งเต้านม ปกป้องเซลล์ประสาท
“กระชาย” (finger root) หรือ ขิงจีน เป็นพืชวงศ์ขิง มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Boesenbergia rotunda เป็นพืชสมุนไพร (herb) และเครื่องเทศ (spice) กระชาย ถือว่าเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่คนไทยคุ้นเคย กันมานานแล้ว จะมีถิ่นกำเนิด ในแถบร้อนอยู่ที่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะพบขึ้นอยู่บริเวณในป่าดิบร้อนชื้น
กระชายเป็นไม้ลมลุกที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินซึ่งจะเรียกว่า เหง้า และเหง้าที่อยู่ใต้ดินจะแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมากจะเป็นที่สะสมอาหาร ส่วนตรงกลางจะพองกว้างกว่าส่วนหัวและส่วนท้าย ส่วนเนื้อด้านในจะมีสีแตกต่างไปตามชนิดของกระชายและจะมีกลิ่นหอม
เหง้ากระชาย นี้จะมีน้ำมันหอมระเหยและมีสารสำคัญหลายชนิดสะสมอยู่ซึ่งจะมีสรรพคุณในการดับกลิ่นคาวและเป็นสารที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรหลายชนิดสารทีว่านี้คือ สารแคมฟีน (Camphene) ทูจีน (Thujene) และการบูร และในกระชายยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายซึ่งจะพบตรงเหง้าของกระชาย คือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินต่าง ๆ ซึ่งมีประโยชน์แก่ร่างกาย
กระชาย มี 3 ชนิด
ชนิดที่ 1 คือ กระชายขาว กระชายเหลือง หรือเรียกว่า กระชายแกง ซึ่งเป็นกระชายที่นำมาปรุงอาหารใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกง โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารกันมากที่สุดคือ รากสะสมอาหาร หรือที่เรียกว่า “นมกระชาย” ซึ่งรากกระชายนี้จะมีกลิ่นหอม เพราะมีคุณสมบัติในการช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี
ชนิดที่ 2 คือ กระชายแดง เป็นสมุนไพรหายาก ส่วนใหญ่หมอยาพื้นบ้านใช้ในตำรับยารักษาโรคมะเร็งตามศาสตร์การแพทย์พื้นบ้าน และจากงานวิจัยในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทำการค้นคว้าทดลองและคิดค้นตำรับยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ หลายตำรับและใช้รักษาผู้ป่วยอยู่จนถึงปัจจุบัน
ชนิดที่ 3 คือ กระชายดำ (Black Ginger) เป็นหนึ่งในสามของสมุนไพรที่กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกและภาคีเครือข่ายคัดเลือกให้เป็น ผลิตภัณฑ์หรือสมุนไพรต้นแบบ เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพสูงในเชิงพาณิชย์ ได้รับความนิยมเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ส่วนใหญ่ใช้ทำยาอายุวัฒนะ บำรุงสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งไวน์กระชายดำและน้ำหมักกระชายดำ
สารสกัดกระชายขาว
“สมุนไพรกระชาย” มีสรรพคุณทางยานานับประการ จนได้ชื่อในวงการแพทย์แผนไทยว่าเป็น “โสมไทย” เนื่องจากกระชายกับโสมมีความคล้ายคลึงกันหลายอย่าง ลักษณะเด่นของสมุนไพรทั้งสองชนิด เช่น สรรพคุณในการบำรุงกำลังและเสริมสมรรถภาพทางเพศ กระชายและโสมต่างก็เป็นพืชที่มีส่วนสะสมอาหารที่ใช้เป็นยาอยู่ใต้ดิน สามารถเรืองแสงในที่มืดได้เหมือนกันด้วย บางครั้งเราจะเรียกโสมว่า “โสมคน” และเรียกกระชายว่า “นมกระชาย” มีลักษณะที่คล้ายกับรูปร่างของคนเหมือนๆกัน (กระชายมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับนมผู้หญิง และบางครั้งก็ดูคล้ายเพศชาย ทำให้เกิดความเชื่อ ที่น่าจะมีความเกี่ยวข้องในเรื่องสรรพคุณทางเพศ)
ผลงานวิจัยเพิ่มเติม เกี่ยวกับ สารสกัดกระชายขาว
สารสกัดกระชายขาว สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด (Covid-19) ได้ ผลจากงานวิจัยอ้างอิงศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (TCELS) คณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
สาร Pinostrobin สารสกัดกระชายขาวยังมีฤทธิ์ช่วยต้านการเจริญเติบโตของเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกลาก 3 ชนิด และช่วยต้านการเจริญของเชื้อ Candida albican ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการตกขาวในสตรี เป็นอีกหนึ่งงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล
สารสกัดจากกระชายสามารถช่วยต้านการเสื่อมของกระดูกอ่อนในหลอดทดลองได้ จากงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สาเหตุของการเกิดโรคมาลาเรีย รากและใบของกระชายนั้นได้มีงานวิจัยในประเทศกานาพบว่าสาร Pinostrobin มีฤทธิ์ช่วยต้านเชื้อ Plasmodium falciparum
งานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบว่าสารสกัดคลอโรฟอร์มและเมทานอลจากรากของกระชายมีฤทธิ์ในการต้านการเจริญเติบโตของเชื้อ Giardia intestinalis ซึ่งเป็นพยาธิเซลล์เดียวในลำไส้ที่ก่อให้เกิดภาวะท้องเสีย ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมากสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
สารสกัดกระชายอีก 4 ชนิด มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรค อย่างแบคทีเรียได้หลายชนิด จากงานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบ สาร Pinostrobin, Pinocembrin, Panduratin A และ Alpinetin ที่สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียได้
งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าด้วยการผลิตสารออกฤทธิ์จากกระชายเหลืองหรือสารสกัดกระชายขาว ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อผิวขาว
งานวิจัยของ นายแพทย์นพรัตน์ บุญยเลิศ ในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงเล็งเห็นความสำคัญเกี่ยวกับสมุนไพร ทรงให้มีการศึกษา ส่งเสริมสนับสนุน พัฒนาและอนุรักษ์สมุนไพร อย่างโครงการสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อนที่พบว่า กระชายแดงรักษามะเร็งเม็ดเลือด และมะเร็งกระดูก
กระชายสมุนไพรมากด้วยสรรพคุณ
เนื่องจากว่า สารสกัดกระชายขาว มีสารต่างๆที่มีคุณประโยชน์ที่ดีกับร่างกาย ทั้งภายในและ ภายนอก ในส่วนรากและส่วนต้นของกระชายขาว จะประกอบด้วยสาร alpinetin, pinocembrin, boesenbergin A, pinostrobin, น้ำมันหอมระเหย (essential oil), สาร cardamonin ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็งได้อีกด้วย
กระชาย จึงมีสรรพคุณมากมาย ที่ช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บของคนไทยมาอย่างช้านาน ตำรายาไทยใช้เหง้ากระชาย ในการแก้อาการของโรคต่างๆ นอกจากนั้น กระชายยังมีประโยชน์ทางสมุนไพร ส่วนที่ใช้ประโยชน์เพื่อบริโภค คือเหง้า เหง้ากระชายขาวใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงบางอย่าง ส่วนใหญ่เป็นแกงที่ใช้ปลา เช่น น้ำยาปลา แกงส้ม แกงเลียง เนื่องจากกลิ่นรสที่เผ็ดร้อนและรสขมของกระชายขาวจะช่วยดับกลิ่นคาวปลาได้ดี
39 สรรพคุณของกระชาย
สรรพคุณในการบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ
สรรพคุณในการบำรุงกำลัง เสริมสมรรถภาพทางเพศ บำบัดโรคนกเขาไม่ขันหรือโรคอีดี (Erectile Dysfunctional หรือ ED) (เหง้าใต้ดิน)
สรรพคุณช่วยบำรุงกระดูก ช่วยทำให้กระดูกไม่เปราะบาง
สรรพคุณแก้วิงเวียน แน่นหน้าอก
สรรพคุณแก้ท้องเดิน ท้องร่วง ปวดท้องบิด
สรรพคุณแก้แผลในปาก ปากเปื่อย ปากแห้ง ฝ้าขาวในปาก
สรรพคุณรักษาฝี รักษาขี้กลาก ขี้เกลื้อน
สรรพคุณช่วยบำรุงตับและไตให้แข็งแรง
สรรพคุณช่วยแก้อาการปวดเมื่อย บำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง
สรรพคุณขับระดูขาวของสตรี บำรุงมดลูก
สรรพคุณขับปัสสาวะ
สรรพคุณทางยาใช้ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
สรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงหัวใจด้วยการใช้เหง้าและรากของกระชายมาหั่นตากแห้งแล้วบดจนเป็นผงนำมาชงกับน้ำร้อนครึ่งถ้วยชา แล้วรับประทาน
ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย
ช่วยบำรุงสมอง เพราะช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนกลางได้ดีมากขึ้น
ช่วยปรับสมดุลของความดันโลหิตในร่างกาย
ช่วยป้องกันไทรอยด์เป็นพิษ
ช่วยแก้อาการไส้เลื่อนในเพศชาย ควบคุมไม่ให้ต่อมลูกหมากโต
ใช้น้ำมันกระชายแก้อาการคันหนังศีรษะจากเชื้อรา
แก้ปัญหาโรคผิวหนัง ด้วยเหง้า มีฤทธิ์ในการช่วยต้านเชื้อรา
กระชายมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ ป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากการอักเสบเรื้อรัง
เป็นยาต้มใช้ดื่มบำรุงและช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตาและไต
ช่วยขับน้ำคาวปลาของสตรีหลังคลอดบุตร
ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร
ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อ และมีอาการเหนื่อยล้า
ช่วยรักษาโรคน้ำกัดเท้า
ช่วยรักษาฝีด้วยการใช้เหง้ากับรากมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาทาหัวฝีที่บวม จะทำให้หายเร็วยิ่งขึ้น
กระชายมีสารที่ออกฤทธิ์ช่วยต้านการก่อการกลายพันธุ์
รากกระชายสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้
ช่วยกระตุ้นระบบประสาท บำรุงประสาท
ช่วยในการนอนหลับ แก้อาการนอนไม่ค่อยหลับในตอนกลางคืน ช่วยทำให้นอนหลับดีขึ้น
ช่วยระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกาย ทำให้โลหิตไหลเวียนได้ดีขึ้น
ช่วยทำให้เจริญอาหาร
ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้
ช่วยแก้หอบหืด
ช่วยแก้อาการใจสั่นหวิว แก้ลมวิงเวียน
ช่วยขับประจำเดือน แก้อาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี
ช่วยขับน้ำนม รักษาอาการตกเลือด และช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น สำหรับสตรีหลังคลอดบุตร
ประโยชน์ของกระชาย
ประโยชน์กระชาย สามารถนำมาทำเป็นน้ำกระชายปั่น ดื่มเพื่อเพิ่มความสดชื่น บำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าได้เป็นอย่างดี
น้ำกระชายช่วยทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่ายิ่งขึ้น ช่วยทำให้เหนื่อยลง
ช่วยทำให้เส้นผมแข็งแรง เปลี่ยนผมขาวให้กลับเป็นดำ ช่วยทำให้ผมบางกลับมาหนาขึ้น และช่วยแก้ปัญหาผมหงอก ผมร่วงได้
รากนำมาใช้เป็นเครื่องแกงในการประกอบอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อและปลาได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาดุก ปลาไหล ปลากุลา เป็นต้น และยังทำให้อาหารมีกลิ่นและรสที่หอมแบบเป็นเอกลักษณ์อีกด้วย
รากกระชายสามารถช่วยไล่แมลงได้ ด้วยการนำตะไคร้ ข่า หอมแดง ใบสะเดาแก่ นำมาตำผสมกันแล้วใช้ผสมกับน้ำฉีดในบริเวณที่มีแมลงรบกวน
สารสกัดกระชายขาว สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้จริงหรือไม่ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mmed.com/product/mmed-finger-root-extract-plus-beta-glucan/