หอพักขอนแก่น,หอพัก ขจรศักดิ์ ขอนแก่น, หอพัก ศศิธร ขอนแก่น, หอพัก ถูก ขอนแก่น, หอพัก อยู่สบาย ขอนแก่น หน้าค่าย ร.8 ใกล้สนามบินขอนแก่น,

ผู้เขียน หัวข้อ: โรคหัวใจขาดเลือด รักษาไม่ทัน อันตรายถึงชีวิต  (อ่าน 122 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2543
    • ดูรายละเอียด

รู้หรือไม่ว่า “โรคหลอดเลือดหัวใจ” เป็นอีกหนึ่งโรคที่คนไทยเป็นกันจำนวนมาก โดยพบว่าเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต ที่ติดอันดับ 1 ใน 4 ของประชากรโลกรวมทั้งในประเทศไทย โดยปัจจุบันมักพบในผู้ที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

    “โรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะหากเกิดอาการแล้ว นั่นหมายถึง ทุกวินาทีคือชีวิต หากรักษาไม่ทันก็อาจเสียชีวิตได้”
    นายแพทย์ธีรยุทธ เอกโรจนกุล
    แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ


ภาวะหลอดเลือดแข็ง คืออะไร

“ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis)” หรือ “ภาวะหลอดเลือดตีบ” เป็นภาวะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือดทำให้ผนังหลอดเลือด ชั้นใน หนาตัวขึ้นเรื่อยๆ มีไขมันไปสะสมระหว่างหลอดเลือด จนในที่สุดทำให้เกิดหลอดเลือดตีบตัน เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการของอวัยวะต่างๆ ขาดเลือดเกิดขึ้น

สาเหตุของภาวะหลอดเลือดแข็ง เกิดจาก

▪ การอุดตันหรือตีบแคบของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ
▪ เกิดการสร้างคราบตะกอนไขมันขึ้นตามผนังด้านในของหลอดเลือดแดงของหัวใจ
▪ ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจลดลงหรือเลือดไปเลี้ยงไม่ได้
▪ ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เสียชีวิตได้

อย่างไรก็ตาม ไขมันสะสมอุดตันอันเป็นสาเหตุของภาวะหลอดเลือดแข็งไม่ได้เกิดเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่สามารถพบได้ตั้งแต่อายุไม่มาก ทั้งนี้เนื่องมาจากพฤติกรรมการรับประทานในปัจจุบันนั่นเอง


โรคหัวใจเกิดจากอะไร?

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ แบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท


ปัจจัยเสี่ยงที่แปรเปลี่ยนไม่ได้

    อายุ เมื่ออายุมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดเพิ่มขึ้น
    เพศ ผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่าผู้หญิง แต่ในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว มีโอกาสเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจใกล้เคียงกับผู้ชาย
    ประวัติครอบครัว หากมีบุคคลในครอบครัว เช่น ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ พี่น้อง เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ก็มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น


ปัจจัยเสี่ยงที่แปรเปลี่ยนได้

    น้ำหนักเกินและอ้วน
    กลุ่มอาการที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับภาวะน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนร่วมกับปัจจัยเสี่ยงด้านอื่นๆ (Metabolic Syndrome) หรืออาจเรียกว่า “อ้วนลงพุง” ร่วมกับมีภาวะความผิดปกติ ได้แก่
        ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
        ระดับ HDL ในเลือด (ไขมันดี) ต่ำ
        ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
        ระดับความดันโลหิตสูง

    ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะเป็นภาวะที่ไม่แสดงอาการ
    ความเครียด
    ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือโรคเบาหวาน
    ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
    การไม่ออกกำลังกาย
    การสูบบุหรี่
    การรับประทานผักและผลไม้ในแต่ละวันน้อยเกินไป


เจ็บหน้าอกแบบไหนที่เป็นอาการโรคหัวใจ

เจ็บ แน่นหน้าอก เหมือนมีอะไรมากดทับ บีบรัดบริเวณกลางเยื้องมาทางด้านซ้าย โดยมักมีอาการเวลาออกแรงที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
ปวดร้าวไปบริเวณแขนซ้ายขึ้นหัวไหล่
เหงื่อแตก
หน้าซีด คล้ายจะเป็นลม

   
เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน

หากมีอาการดังกล่าว บวกกับมีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย นั่นอาจหมายถึงคุณเสี่ยงเป็นโรคหัวใจขาดเลือด


“เจ็บหน้าอก” แต่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจ! อาจเป็นอาการของโรคอื่น

แสบร้อนที่หน้าอก เจ็บกลางอกหรือลิ้นปี่ บางครั้งมีเรอเปรี้ยว มักเป็นขณะอิ่ม เกิดจากโรคกรดไหลย้อน
เจ็บแปล๊บๆ เจ็บหัวใจเหมือนถูกเข็มทิ่มแทงหรือถูกไฟช็อต เกิดจากเส้นประสาทอักเสบ
เจ็บเวลาหายใจเข้าลึกๆ หรือเมื่อเอี้ยวตัว เกิดจากกล้ามเนื้อเอ็นหรือกระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ
กดเจ็บบริเวณหน้าอก โดยเฉพาะบริเวณกระดูกซี่โครงใกล้ๆ ทรวงอก เกิดจากกระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ
เจ็บตลอดเวลา เป็นนานหลายชั่วโมง หรือเป็นวันโดยที่ไม่มีอาการร้ายแรงอื่นๆ เกิดจากกล้ามเนื้อเอ็นหรือกระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ
อาการเจ็บไม่สัมพันธ์กับความหนักเบาของกิจกรรม เช่น เจ็บเวลานั่งหรือนอน แต่ขณะทำงานบางครั้งก็ไม่เจ็บ แม้จะออกแรงมากกว่าหรือเหนื่อยกว่า

   
อาการเจ็บหน้าอกเฉพาะด้านขวา

*ทั้งนี้ทั้งนั้น อาการอาจจะไม่จำเพาะเสมอไป ถ้ามีอาการที่ไม่ชัดเจนร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นก็อาจจะต้องมีการตรวจเพิ่มเติม

คุณเป็นโรคหัวใจหรือไม่? โรคหัวใจตรวจด้วยวิธีใดได้บ้าง การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ

    ประวัติสุขภาพและการตรวจร่างกาย(Medical history and Physical examination)
    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG: Electrocardiogram)
    การถ่ายภาพรังสีของทรวงอก (Chest X-ray)
    การบันทึกคลื่นไฟฟ้าชนิดติดตัว (Holter Monitoring)
    การตรวจระดับเอนไซม์กล้ามเนื้อหัวใจในเลือด (Cardiac Enzyme Test)
    การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST: Exercise Stress Test)
    การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (ECHO: Echocardiogram)
    การตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดเลือดหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (Computed Tomographic Angiography)
    การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiovascular MRI: CMR)
    การสวนหัวใจหรือการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization or Coronary Angiogram)
    การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)


โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ รักษาหายไหม?

แนวทางในการรักษาขึ้นอยู่กับอาการ และร่างกายของคนไข้ ว่าเหมาะกับการรักษาวิธีใด

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ออกกำลังกาย ไม่ดื่มเหล้า งดสูบบุหรี่ พยายามไม่เครียด ควบคุมน้ำหนัก นั่งสมาธิ
การรักษาด้วยยา หลังจากได้รับการผ่าตัดแล้วจะต้องมียาบางตัวที่ต้องรับประทานตลอด เช่น ยาต้านเกล็ดเลือด ซึ่งผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและการใส่ขดลวด
การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือการทำ “บายพาส”


โรคหัวใจขาดเลือด รักษาไม่ทัน อันตรายถึงชีวิต อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/
บันทึกการเข้า