หอพักขอนแก่น,หอพัก ขจรศักดิ์ ขอนแก่น, หอพัก ศศิธร ขอนแก่น, หอพัก ถูก ขอนแก่น, หอพัก อยู่สบาย ขอนแก่น หน้าค่าย ร.8 ใกล้สนามบินขอนแก่น,

ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อมูลโรค: ปอดอักเสบ/ปอดบวม (Pneumonia)  (อ่าน 71 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2499
    • ดูรายละเอียด
ข้อมูลโรค: ปอดอักเสบ/ปอดบวม (Pneumonia)
« เมื่อ: กันยายน 17, 2023, 11:40:35 pm »

ปอดอักเสบ (ปอดบวม นิวโมเนีย ก็เรียก) หมายถึง การอักเสบของเนื้อปอด (ซึ่งประกอบด้วย ถุงลมปอดและเนื้อเยื่อโดยรอบ) ทำให้ปอดทำหน้าที่ได้น้อยลง เกิดอาการหายใจหอบเหนื่อย และอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้

โรคนี้เกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย จึงมีอาการแสดงและความรุนแรงในลักษณะต่าง ๆ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทั่วไปและคนทุกวัย มีโอกาสพบมากขึ้นในบุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ทารก เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (เช่น หลอดลมพอง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมปอดโป่งพอง โรคหืดเรื้อรัง) หรือหัวใจวายเรื้อรัง ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์จัด และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักน้อย เด็กขาดอาหาร ผู้ที่กินยาสตีรอยด์ประจำ ผู้ป่วยเอดส์ เบาหวาน ตับแข็ง ไตวายเรื้อรัง มะเร็ง เป็นต้น

อาจพบเป็นภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หัด อีสุกอีใส โรคมือ-เท้า-ปาก ไอกรน ทอนซิลอักเสบ หลอดอักเสบ ครู้ป หลอดลมพอง หลอดลมฝอยอักเสบ และโรคติดเชื้อของระบบอื่น (เช่น ไทฟอยด์ สครับไทฟัส เล็ปโตสไปโรซิส เป็นต้น)

ผู้ป่วยที่ฉีดยาด้วยเข็มที่ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อ (เช่น ฉีดยาเสพติด) ก็มีโอกาสติดเชื้อสแตฟีโลค็อกคัสกลายเป็นโรคปอดอักเสบชนิดร้ายแรงได้

บางครั้งอาจพบในผู้ที่สำลักสารเคมี (ที่สำคัญคือ น้ำมัน เช่น น้ำมันก๊าด เบนซิน) น้ำย่อยในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน น้ำและสิ่งปนเปื้อน (ในผู้ป่วยจมน้ำ) หรือเศษอาหาร (ซึ่งมักพบในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยอัมพาต ลมชัก หมดสติ ดื่มแอลกอฮอล์จัด) ทำให้ปอดอักเสบ จากการระคายเคืองของสารเคมี หรือการติดเชื้อ เรียกว่าปอดอักเสบจากการสำลัก (aspiration pneumonia)


สาเหตุ

ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ ส่วนน้อยเกิดจากสารเคมี การติดเชื้อที่สำคัญ มีดังนี้

    การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อที่เป็นสาเหตุของปอดอักเสบที่พบได้บ่อยสุดในคนทุกวัยได้แก่ เชื้อปอดบวม ที่มีชื่อว่า นิวโมค็อกคัส (pneumococcus) หรือ สเตรปโตค็อกคัสนิวโมเนีย (Streptococcus pneumoniae) มักทำให้เกิดอาการปอดอักเสบเฉียบพลันและรุนแรง

นอกจากนี้อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ เช่น อีโมฟิลุสอินฟลูเอนเซ (Hemophilus influenzae) ซึ่งเป็นสาเหตุของปอดอักเสบในทารกและผู้ป่วยหลอดลมอักเสบเรื้อรัง สแตฟีโลค็อกคัสออเรียส (Staphylococcus aureus) ซึ่งทำให้เกิดปอดอักเสบชนิดร้ายแรง พบบ่อยในผู้ที่ฉีดยาเสพติดด้วยเข็มที่ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อ และอาจพบเป็นภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่ เชื้อเคล็บซิลลา (Klebsiella pneumoniae) ซึ่งทำให้เป็นปอดอักเสบชนิดร้ายแรงในผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์จัด กลุ่มแบคทีเรียที่ไม่พึ่งออกซิเจน (anaerobes) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปอดอักเสบจากการสำลัก เชื้อลีจันเนลลา (Legionella) ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปตามระบบปรับอากาศ (เช่น ห้องพักในโรงแรม หรือโรงพยาบาล) เชื้อเมลิออยโดซิส ซึ่งพบมากทางภาคอีสาน เชื้อคลามีเดีย (Chlamydia pneumoniae) ซึ่งพบบ่อยในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว เป็นต้น
 

    การติดเชื้อไมโคพลาสมานิวโมเนีย (Mycoplasma pneumoniae) ซึ่งเป็นเชื้อคล้ายแบคทีเรียแต่ไม่มีผนังเชลล์ จัดว่าอยู่ก้ำกึ่งระหว่างไวรัสกับแบคทีเรีย มักทำให้เกิดปอดอักเสบที่มีอาการไม่ชัดเจน (มีอาการไข้ ไอ ปวดเมื่อย คล้ายไข้หวัดใหญ่หรือหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โดยไม่มีอาการหอบรุนแรง การตรวจฟังปอดในระยะแรกมักไม่พบเสียงผิดปกติ)* มักพบในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว ถ้าพบในคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุ อาจมีอาการรุนแรงบางครั้งพบมีการระบาด

    การติดเชื้อไวรัส ที่พบบ่อย ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza virus) อีสุกอีใส-งูสวัด (varicella-zoster/virus) ไวรัสอาร์เอสวี (respiratory syncytial virus/RSV) ไวรัสค็อกแซกกี (coxsackie virus) ไวรัสเริม (herpes simplex virus/HSV) ไวรัสโคโรนาสัมพันธ์กับโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงชนิดที่ 2 (SARS-CoV-2 เรียกสั้น ๆ ว่า "ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019" หรือ "ไวรัสโควิด-19") เป็นต้น

    การติดเชื้อรา ที่สำคัญได้แก่ นิวโมซิสติสคาริไน (Pneumocystis carinii)** ที่เป็นสาเหตุของปอดอักเสบในผู้ป่วยเอดส์ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากเชื้อราอื่น ๆ เช่น Histoplasma capsulatum‚ Blastomyces dermatitidis‚ Coccidioides immites‚ Cryptococcus‚ Aspergillus เป็นต้น

ข้อมูลโรค: ปอดอักเสบ/ปอดบวม (Pneumonia) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions
บันทึกการเข้า