หอพักขอนแก่น,หอพัก ขจรศักดิ์ ขอนแก่น, หอพัก ศศิธร ขอนแก่น, หอพัก ถูก ขอนแก่น, หอพัก อยู่สบาย ขอนแก่น หน้าค่าย ร.8 ใกล้สนามบินขอนแก่น,

ผู้เขียน หัวข้อ: ขายบ้านโคราช: การเลือกโครงสร้างบ้านให้เหมาะกับการใช้งาน  (อ่าน 66 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2499
    • ดูรายละเอียด

การสร้างบ้านให้มีความแข็งแรงทนทานนั้น โครงสร้างบ้านถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยโครงสร้างมีหลากหลายแบบ ประกอบไปด้วย โครงสร้างไม้ โครงสร้างเหล็ก และโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งแต่ละแบบก็มีลักษณะแตกต่างกันออกไป จึงควรเลือกให้เหมาะกับการใช้งานของตัวเอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในระยะยาว และช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงทนทานให้กับตัวบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ


1. โครงสร้างไม้

แม้ว่าจะผ่านมาหลายยุคหลายสมัย คนไทยก็ยังนิยมใช้โครงสร้างไม้ในการก่อสร้างบ้านเรือน เนื่องจากโครงสร้างไม้สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของธรรมชาติอย่างแท้จริง และมีความแข็งแรงทนทานอีกด้วย ยิ่งถ้าหากใช้ร่วมกับผนังไม้และพื้นไม้จะผสมผสานเข้ากันได้อย่างลงตัวส่งเสริมให้บ้านของคุณดูสวยงาม และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยโครงสร้างไม้มีให้เลือกหลายแบบ ประกอบไปด้วย ไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็ง และไม้เนื้อแกร่ง ซึ่งแต่ละแบบก็มีราคาและความทนทานแตกต่างกันออกไป แต่ข้อควรระวังของการนำไม้มาใช้เป็นโครงสร้างบ้าน คือ ต้องมีการดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากมีการชำรุดเสียหายจะมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสูงมากทีเดียว


2. โครงสร้างเหล็ก

โครงสร้างเหล็ก ถือว่าเป็นโครงสร้างที่มีความแข็งแรงอย่างมาก ในการก่อสร้างเสาและคาน จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เหล็กเส้นกลม และเหล็กข้ออ้อย แต่ควรเลือกวัสดุเกรดคุณภาพ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเท่านั้น ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากป้ายรายละเอียด จะมีการระบุข้อมูลสำคัญ ๆ ไว้อย่างครบถ้วน เช่น ชั้นคุณภาพ ความยาวของเส้นเหล็ก และเครื่องหมายของ มอก. หากมีการระบุข้อมูลต่าง ๆ อย่างครบครัน ก็ถือว่าเป็นวัสดุที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน มีความปลอดภัยในการใช้งานอย่างแน่นอน โดยวัสดุชนิดนี้มีความโดดเด่นตรงที่ชำรุดเสียหายได้ยาก และมีอายุการใช้งานยาวนาน


3. โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

คอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่มีความน่าสนใจ เพราะวัสดุชนิดนี้สามารถรับน้ำหนักได้ดีกว่าคอนกรีตทั่วไป โดยมีเหล็กอยู่ด้านในช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับคอนกรีต จึงทำให้วัสดุชนิดนี้สามารถรับน้ำหนักได้ดี ช่วยลดปัญหาในเรื่องความเปราะไปได้มากทีเดียว และมีประสิทธิภาพในการรับแรงดึงมากขึ้นอีกด้วย ที่ผ่านมาหลาย ๆ คน จึงนิยมใช้คอนกรีตเสริมเหล็กในการก่อสร้างบ้าน เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีคุณภาพ ในราคาที่ค่อนข้างมีความคุ้มค่า



โครงสร้างบ้านแบบไหนที่รับมือกับอุทกภัยได้ดี

“อุทกภัย” ภัยธรรมชาติทางน้ำที่คนส่วนมากมักจะเรียกกันโดยติดปากว่า “น้ำท่วม” มักจะเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่คาดไม่ถึง และความพร้อมในการรับมือค่อนข้างน้อย  เมื่อมีภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้น ย่อมส่งผลเสียตามมาในภายหลังทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นระบบสาธารณูปโภคได้รับความเสียหาย เส้นทางคมนาคมถูกตัดออกเป็นช่วง ๆ การสูญเสียทรัพย์สินและสิ่งของมีค่า รวมไปถึงการเสียชีวิตของสัตว์และคน ซึ่งสิ่งที่เห็นได้อย่างเด่นชัดคือ น้ำท่วมอาคารบ้านเรือน สถานที่สาธารณะ สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากโครงสร้างบ้านที่ไม่แข็งแรงมากพอ


โครงสร้างแบบไหนที่เหมาะกับการรับมือน้ำท่วม

ในเมื่อเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเหตุการณ์น้ำท่วมจะเกิดขึ้นตอนไหน แต่สิ่งที่เราสามารถทำได้คือการเตรียมมือป้องกัน และรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเริ่มจากการออกแบบบ้านที่ดี และมีโครงสร้างบ้านที่มั่นคง แข็งแรง ดังนี้

1.    โครงสร้างของฐานรากใช้แบบเสาเข็ม เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการทรุดตัวของตัวบ้านในภายหลัง แม้การตอกเสาเข็มในแต่ละครั้งจะต้องใช้งบประมาณ แต่กลับเป็นส่วนสำคัญที่ป้องกันการทรุดตัวของดินและบ้านได้อย่างดี

2.    ถมที่ 2 ระดับ เป็นการปรับที่ดินตัวบ้านให้สูงเหนือขึ้นมากว่าสวนหน้าบ้าน และสวนหน้าบ้านให้สูงกว่าตัวพื้นถนน เพื่อป้องกันน้ำขัง และให้น้ำได้ไหลลงท่อระบายน้ำริมถนน

3.    วัสดุที่ใช้ทำพื้นชั้นล่างให้หลีกเลี่ยงวัสดุที่อาจจะทำให้เกิดอาการบวม หรือขึ้นราจากความชื้น โดยเฉพาะบ้านที่ปูพื้นไม้ หากบ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย ควรเปลี่ยนจากการปูพื้นไม้เป็นกระเบื้องแทน นอกจากป้องกันการบวม และการเกิดราได้แล้ว ยังทำความสะอาดง่ายอีกด้วย

4.    แยกระบบวงจรไฟฟ้าออกตามชั้น ห้อง และระบบงาน เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียระบบไฟฟ้าไปทั้งหลัง หากมีจุดใดจุดหนึ่งเกิดความเสียหาย

5.    ติดตั้งระบบป้องกันน้ำไหลย้อน และเครื่องสูบน้ำ เพื่อป้องกันน้ำไหลย้อนเข้ามาตามช่องทางท่อน้ำทิ้ง และสูบน้ำที่ท่วมขังภายในตัวบ้านออกไปด้านนอก

6.    ติดตั้งปลั๊กไฟเหนือจากพื้นประมาณ 1.2 เมตรเป็นอย่างน้อย ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะช่วยป้องกันไฟรั่วในขณะที่เกิดอุทกภัยแล้ว ยังเป็นการป้องกันเด็กเล็กในบ้านนำสิ่งของ หรือมือไปแหย่ปักเล่น นับเป็นการป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งสองช่องทาง

การที่วางโครงสร้างบ้านไว้เป็นอย่างดี พร้อมที่จะรับมือกับเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงในอนาคตอย่างน้ำท่วม จะช่วยทำให้เจ้าของบ้าน และผู้อยู่อาศัยรู้สึกอุ่นใจ ปลอดภัยหายห่วง นอกจากการวางโครงสร้างที่แข็งแรง มั่นคงแล้ว อย่าลืมที่จะหมั่นกักตุนเสบียงอาหารสำรองไว้ด้วย


ขายบ้านโคราช: การเลือกโครงสร้างบ้านให้เหมาะกับการใช้งาน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://homes-realestate.com/homes2/
บันทึกการเข้า