หอพักขอนแก่น,หอพัก ขจรศักดิ์ ขอนแก่น, หอพัก ศศิธร ขอนแก่น, หอพัก ถูก ขอนแก่น, หอพัก อยู่สบาย ขอนแก่น หน้าค่าย ร.8 ใกล้สนามบินขอนแก่น,

ผู้เขียน หัวข้อ: ชุดแม่บ้าน: สกรีนเสื้อแบบ DFT กับ DTG ต่างกันยังไง?  (อ่าน 121 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2561
    • ดูรายละเอียด

เมื่อพูดถึงการสกรีนเสื้อ เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าการสกรีนเสื้อมีอยู่หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคที่มีมานานแล้ว เช่น ซิลล์สกรีน หรือการสร้างบล็อกแยกตามสี จะเป็นการปาดสีก่อนนำไปเป่าให้แห้ง และค่อยๆลงทีละสีเพื่อให้เกิดมิติของภาพ แต่ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีที่สกรีนด้วยระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นตัวเลือกและตัวช่วยที่ดีในการสกรีนแล้ว เช่น การ สกรีนเสื้อแบบ DFT (Digital film Transfer) กับ DTG(Direct to Garment) แล้วการสกรีน 2 แบบนี้ต่างกันยังไงนะ

 
สกรีนเสื้อแบบ DFT (Digital film Transfer) คืออะไร?

DFT(Digital film Transfer) คือ การพิมพ์ภาพลงบนแผ่นฟิล์ม ด้วยหมึกสำหรับการย้อมผ้า แล้วนำแผ่นฟิล์มที่พิมพ์แล้วมารีดร้อนติดบนเสื้อ จะใช้ความร้อนเยอะพอสมควรอยุ่ที่ประมาณ 170 – 180 องศาเซลเซียส แต่ก่อนที่จะรีดร้อนนั้นต้องทำการโรยผงกาวก่อน ซึ่งเป็นผงกาวที่ใช้กับอุตสาหกรรมสิ่งทอโดยตรงจะทำหน้าที่เป็นตัวยึดติดกับผ้า และจากนั้นก็สามารถลอกฟิล์มออกได้ วิธีนี้ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาให้สะดวกต่อการพิมพ์สกรีนใช้งานมากยิ่งขึ้น

อีกทั้งการสกรีนประเภท DFT(Digital film Transfer) ยังสามารถใช้ได้กับผ้าหลายชนิด เช่น ผ้าคอตตอน ผ้าฝ้าย ผ้า TC TK ผ้าร่ม ผ้าไมโคร ผ้าโพลีเอสเตอร์(Polyester)

สำหรับการสกรีนแบบ DFT(Digital film Transfer) ส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการเตรียมทำไฟล์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นต้องไดคัทเอาพื้นขาวออก กำหนดพื้นที่ตำแหน่งให้ดี เหล่านี้ล้วนใช้ความชำนาญของโปรแกรมมากพอสมควร และก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการสกรีนแบบ DFT(Digital film Transfer) ด้วย


เสื้อพิมพ์ลาย เสื้อพิมพ์ Sublimation คืออะไร ?

แนะนำ

ถ้าอยากรู้ว่าผ้าอะไรที่เหมาะสำหรับนำเอาไปพิมพ์ลาย คลิก


2.พิมพ์เสื้อแบบ DTG(Direct to Garment) คืออะไร?

DTG(Direct to Garment) คือ การใช้หมึกพิกเมนต์(Picment) สกรีนลงบนเสื้อโดยตรงแล้วอบด้วยความร้อนเพื่อให้แห้งและติดทน สีพื่นของเสื้อที่เหมาะกับการสกรีนแบบ DTG คือสีขาว คล้ายเวลาเราใช้เครื่องปริ้นเตอร์(Printer) แล้วพิมพ์หมึกลงกระดาษสีขาว เพื่อต้องการให้สีที่ปริ้นออกมาสวยงามและคมชัด แต่ถ้าปริ้นบนกระดาษสีเข้มภาพสีที่ปริ้นออกมาก็จะดูเพี้ยนไปนั้นเอง และคุณภาพของสีที่พิมพ์จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดก็ต่อเมื่อพิมพ์หรือสกรีนบนผ้าคอตตอน Cotton 100% เท่านั้น สำหรับการสกรีนแบบ DTG(Direct to Garment) นี้

แนะนำ

ถ้าอยากรู้ว่าผ้าคอตตอน (Cotton) กับโพลีเอสเตอร์ (Polyster) คืออะไร คลิกดูวิดีโอข้างล่างนี้ได้เลย
ผ้า cotton คืออะไร ทำไมถึงเป็นที่นิยม และ ผ้า Polyester ยับยากจริงไหม ? | by PMK Polomaker
 

3.เปรียบเทียบการ สกรีนเสื้อแบบ DFT (Digital film Transfer) กับ การพิมพ์เสื้อแบบ DTG(Direct to Garment) ต่างกันยังไง?

ความแตกต่างของการสกรีนของ 2 ประเภทนี้ แตกต่างกันตั้งแต่ วิธีการทำ ชนิดของผ้าที่เหมาะสม และข้อดี–ข้อเสียก็แตกต่างเช่นกัน

วิธีการทำ

    DFT(Digital film Tranfer) : พิมพ์ลงแผ่นฟิล์ม แล้วนำไปรีดร้อนบนผ้า โดยอาศัยกาวในการยึดเกาะ จะไม่เหมือนการพิมพ์แบบ DTG ที่พิมพ์ลงบนผ้าโดยแล้ว อบด้วยความร้อน
    DTG(Direct to Garment) : จะเป็นการพิมพ์ลงบนเสื้อโดยตรงแล้วอบด้วยความร้อนเพื่อให้แห้งและติดทน ซึ่งจะไม่เหมือนแบบ DFT ที่ต้องพิมพ์ลงบนแผ่นฟิล์มก่อนแล้วค่อยนำมารีดร้อนบนผ้าอีกที


ชนิดผ้าที่เหมาะสม

    DFT(Digital film Transfer) : เหมาะกับผ้าหลายชนิด เช่น ผ้าคอตตอน(Cotton 100%), ผ้าฝ้ายธรรมชาติ, TC, TK, ผ้าร่ม, ผ้าไมโคร ผ้าไมโครโพลี และผ้าโพลีเอสเตอร์(Polyester)
    DTG(Direct to Garment) : เหมาะกับผ้าคอตตอน(Cotton 100%)เท่านั้น สำหรับการสกรีนแบบ DTG(Direct to Garment) นี้


ข้อดี-ข้อเสีย

   
DFT(Digital film Transfer)

ข้อดี : งานพิมพ์ไม่จำกัดสี เหมาะสมกับผ้าหลายชนิด ราคาประหยัด
ข้อเสีย : ส่วนที่สกรีนลงผ้านั้นจะปิดทึบ ไม่มีที่ระบายในส่วนนั้น

   
DTG(Direct to Garment)

ข้อดี : งานพิมพ์มีความละเอียดสูง หมึกซึมเขาลงเส้นใยผ้า

ข้อเสีย : ไม่เหมาะในการพิมพ์ลงผ้าชนิดอื่น และไม่เหมาะกับการที่สั่งเยอะๆ เพราะราคาสูง

สรุปข้อดีของ DFT(Digital film Transfer)

    สามารถพิมพ์หรือสกรีนกับผ้าได้หลากหลายชนิด
    ไม่จำกัดสี และสีค่อนข้างตรง
    ไม่ต้องมีบล๊อกสกรีน
    ไม่แข็งกระด้าง เคลื่อนไหวตามเนื้อผ้าได้ดี
    ยืดหยุ่นได้สูงตามเนื้อผ้า
    ติดแน่นเรียบเนียนไปกับเนื้อผ้า
    การยึดติดของหมึกี่ใช้สกรีนกับผ้าค่อนข้างดี ที่สำคัญขึ้นอยู่กับคุณภาพกาวที่ใช้
    ไม่เสียเวลามาก สามารถผลิตได้ทีละเยอะๆ
    สามารถสกรีนตัวหนังสือเล็กๆได้ดี
    ราคาประหยัดกว่าวิธีอื่นๆ
    จำนวนน้อยก็ทำได้


สรุปข้อด้อยของ DFT(Digital film Transfer)

    ต้องใช้ความชำนาญในการเตรียมไฟล์
    ต้องมีคนคอยควบคุม ดูแล อยู่ตลอด
    เครื่องหัวพิมพ์ตันง่าย
    ส่วนที่สกรีนทับลงไปจะทึบ ระบายอากาศไม่ได้ในส่วนนั้น
    ใช้ไฟฟ้าเยอะ

สรุปอย่างที่หลายๆคนทราบกันว่าการพิมพ์สกรีนนั้นมีหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น ซิลล์สกรีน, Flex Print / Cut และ ที่เราพึ่งกล่าวถึงไปข้างต้น DFT(Digital film Transfer) กับ DTG(Direct to Garment) ทุกแบบมีข้อดีข้อด้อยที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่ามันเหมาะสมสำหรับใคร หรือสถานการณ์ไหนๆ บางท่านอยากสั่งจำนวนน้อยภาพคม เนื้อผ้าคอตตอน ก็จะเหมาะการพิมพ์สกรีนแบบ DTG หรือ บางท่านอยากได้ราคาดี ประหยัด ไม่จำกัดสี เนื้อผ้าอื่นๆที่ไม่ใช่คอตตอน ก็จะเหมาะกับ DFT นั้นเอง


ชุดแม่บ้าน: สกรีนเสื้อแบบ DFT กับ DTG ต่างกันยังไง? อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://uniformdeluxe.com/
บันทึกการเข้า