หอพักขอนแก่น,หอพัก ขจรศักดิ์ ขอนแก่น, หอพัก ศศิธร ขอนแก่น, หอพัก ถูก ขอนแก่น, หอพัก อยู่สบาย ขอนแก่น หน้าค่าย ร.8 ใกล้สนามบินขอนแก่น,

ผู้เขียน หัวข้อ: การเสียภาษีอสังหาฯที่ซับซ้อนของภาษีที่ดิน สำหรับผู้มี...ที่ดินอยู่ในมือ  (อ่าน 626 ครั้ง)

Trebs15

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 68
    • ดูรายละเอียด

การเสียภาษีอสังหาฯที่ซับซ้อนของภาษีที่ดิน สำหรับผู้มี...ที่ดินอยู่ในมือ

 

ตอนนี้ผู้ที่มีที่ดินอยู่ในมือหรือนักพัฒนา(Developer) อาจจะรับศึกหนัก เพราะขณะนี้การเสียภาษีอสังหาฯ อาจจะทำให้คนที่มีที่ดินนั้นต้องเสียภาษีสับซ้อนหลายเด้ง ซึ่งก็มีการเรียกร้องให้ภาครัฐช่วยผ่อนปรนในเรื่องเกี่ยวกับภาษีอสังหาฯด้วย วันนี้โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยจะขอหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดคุยกัน

 

ขณะนี้กรณีกระทรวงการคลังได้มีคำสั่งเรื่องการจัดเก็บภาษีอสังหาฯ โดยจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี2565ในอัตราเต็ม100%  แม้เป็นผลดีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ที่จะช่วยส่งเสริมให้มีรายได้มากขึ้นและลดการพึ่งพางบประมาณจากรัฐบาล แต่หากมองว่าภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะมีภาระก้อนใหญ่จากภาษีอสังหาฯด้านที่ดินที่มาถล่มซ้ำและทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นทันที 90% ทั้งที่ยังบอบซ้ำจากปัจจัยลบด้านเศรษฐกิจถดถอย การระบาดโควิด วิกฤติสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ต้นทุนพลังงาน วัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงอีกด้วย

 

ย้อนไปก่อนหน้านี้ 3 สมาคมบ้านซึ่งประกอบด้วยสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมอาคารชุดไทย และสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร ได้ช่วยผลักดันผ่านสภาหอการค้าไทยในเรื่องการขอประวิงเวลาการชำระภาษีอสังหาฯที่เกี่ยวกับที่ดินในอัตราลดหย่อน 10% จนกว่าเศรษฐกิจจะพลิกฟื้นแต่คำตอบที่ได้รับจากกระทรวงการคลังนั้นกลับเป็นคำปฏิเสธ ดังนั้นผลกระทบมากที่สุดเห็นจะเป็นสต็อกสินค้าหรือที่อยู่อาศัยเหลือขาย จากการขายที่ค่อนข้างช้า ในช่วงโควิดเมื่อปิดการขายไม่ทันตามเกณฑ์ที่กฎหมายผ่อนผัน กล่าวคือ ต้องขายให้หมดปิดโครงการภายใน3ปีนับจาก ได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง กรณีคอนโดมิเนียมการก่อสร้างต้องใช้เวลาเกือบ3ปี

 

หากขายไม่ทัน จำนวนหน่วยที่เหลือจะเปลี่ยนเป็นการชำระภาษีหรือการชำระภาษีอสังหาฯในอัตราอื่นๆ(พาณิชย์) ทันที ซึ่งกลายเป็นภาระของผู้ประกอบการ ที่ต้องชำระภาษีอสังหาฯเกี่ยวกับที่ดินในระหว่างทางนั้นเอง และในที่สุดภาระที่เกิดขึ้นจะถูกผลักไปสู่ผู้บริโภค นางอาภา อรรถบูรณ์วงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยว่าที่ผ่านมาผู้ประกอบการต้องชำระภาษีอสังหาฯเองในระหว่างการพัฒนาโครงการอยู่ก่อนแล้วหลายรายการ  เมื่อมีภาษีอสังหาฯเกี่ยวกับที่ดินเข้าอีก ส่วนตัวมองว่าเป็นลักษณะการเสียภาษีอสังหาฯที่ซ้ำซ้อนบนที่ดินแปลงเดียว นับตั้งแต่ซื้อที่ดินรอพัฒนา การจ้างออกแบบ ซื้อสินค้าวัสดุก่อสร้าง  ล้วนต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)7% เมื่อก่อสร้างเสร็จและอยู่ในขั้นตอนการขายผู้ประกอบการต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตรา 3.3% ในกรณีที่ขายที่อยู่อาศัยได้ในแต่ละหน่วยและมาถึงการโอนกรรมสิทธิ์ก็ต้องชำระค่าธรรมเนียมการโอน 2% และเมื่อสินค้าขายไม่หมดสิ่งที่ตามมาคือภาษีอสังหาฯที่เกี่ยวกับที่ดินอีก

 
 

 
อย่างไรก็ตามมองว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจะเป็นผู้ประกอบการอสังหาฯทั้งการพัฒนาที่อยู่อาศัยและส่วนของธุรกิจโรงแรม โดยอยากให้รัฐบาลเห็นใจผ่อนปรนลดหย่อนอัตราภาษีอสังหาฯเกี่ยวกับที่ดินเหลือ10% ต่อไปอีกสักระยะ นอกจากนี้ยังต้องการให้รัฐบาลแยกที่ดินที่ต้องเสียภาษีอสังหาฯเกี่ยวกับที่ดินออกเป็นสองส่วนได้แก่ กลุ่มแรกที่ดินสำหรับเก็งกำไร ,ที่ดินมรดกของคนรวยที่ไม่เดือดร้อน ซึ่งปัจจุบันได้ลงทุนทำสวนเกษตรปลูกกล้วย มะนาวกลางเมือง ทั้งสีลม รัชดาภิเษก ฯลฯ ประเด็นนี้รัฐควรพิจารณาเรียกเก็บภาษีอสังหาฯให้จริงจัง ในขณะกลุ่มที่สองคือกลุ่มซื้อที่ดินมาผลิตสินค้าเพื่อผู้บริโภค ควรช่วยเหลือบรรเทา เพราะอาจกระทบในวงกว้างโดยเฉพาะผู้ซื้อ

   

สอดคล้องกับนายมีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ระบุว่า  เร็วๆนี้ สมาคม จะขอเจรจากับทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล เพื่อเรียกร้องประเด็นการเรียกเก็บภาษีอสังหาฯที่เกี่ยวกับที่ดิน เต็มอัตรา 100% อีกครั้ง เพราะจนถึงวันนี้ต้องยอมรับว่า ในหลายกรณี ผู้ประกอบการไม่สามารถแบกรับภาษีอสังหาฯตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้ได้  และไม่อยากให้รัฐต้องมานั่งไล่แก้ปัญหาย้อนหลัง เมื่อผลกระทบเกิดขึ้นแล้ว

 



 

 

โดยในรายละเอียดนั้น รัฐควรพิจารณาเป็นรายประเภท รายกรณีไป ว่าใครจ่ายไหว ใครจ่ายไม่ไหวในช่วงนี้ เช่น ภาษีอสังหาฯประเภททรัพย์สิน ในกลุ่มโรงแรม ซึ่งขณะนี้หลายรายอยู่ในภาวะที่ไม่มีกำลังพอในการจ่ายแน่นอน และการจะบีบเรียกเก็บในอนาคต คงจะเกิดปัญหาไม่น้อย อีกส่วน คือ สต็อกเหลือขายในกลุ่มโครงการบ้าน-คอนโดฯ เกิน 3 ปี ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก รัฐเองก็ไม่เคยลงมาเก็บตัวเลขอย่างชัดเจน ทำให้ไม่เห็นปัญหา ไม่เห็นถึงภาระภาษีอสังหาฯที่ผู้ประกอบการจะต้องจ่าย จึงอยากเรียกร้องให้ทบทวน เนื่องจากเข้าใจดีว่า ปีนี้กระทรวงการคลัง คงไม่สามารถเลื่อนการจัดเก็บภาษีอสังหาฯได้แล้ว เนื่องจาก จำเป็นต้องใช้งบประมาณในการพัฒนาท้องถิ่น

 

"โครงการที่เหลือขายเกิน 3 ปี 10 ปี จึงมีเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการเรียกว่า สินค้าค้างสต็อก ฉะนั้น ไม่ควรมาเป็นภาระให้กับการทำธุรกิจที่ประสบปัญหาในการขายอยู่แล้ว แต่ตามกฎหมายภาษีอสังหาฯที่ดินฉบับใหม่นั้น จะถูกเรียกเก็บตามมูลค่า " รายงานข่าวจากกรุงเทพมหานคร(กทม.) ระบุว่ากทม.กำหนดเป้าการจัดเก็บรายได้จากภาษีอสังหาฯที่ดินในปี 2565 ไว้ที่ 7,500 ล้านบาท หรือคิดเพียงอัตรา50% เข้าใจว่าประชาชนเจ้าของที่ดินไม่สามารถชำระภาษีอสังหาฯนี้ได้เต็ม 100% เพราะเศรษฐกิจยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ

 

เป็นไงกันบ้างครับจากข่าวคราวข้อมูลที่ทางโรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ได้รวบรวมมานำเสนอกันในวันนี้ทุกคนเมื่ออ่านจนถึงตอนนี้แล้วรู้สึกอย่างไรบ้างครับ ว่าควรหรือไม่ควรที่จะเก็บภาษีอสังหาฯที่ซับซ้อนขนาดนี้ทุกคนคิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับ ดังนั้นเราจึงได้ทำ หลักสูตร การวางแผนภาษีและการจัดทำบัญชึธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (RE151) ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่ต้องเสียภาษีอสังหาฯได้รู้จักบริหารจัดการและควบคุมภาษีที่ต้นเองเสียไปนั้นนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดโดยที่ไม่เสียซับซ้อนไปมาทั้งๆที่ไม่ได้อะไรเลยนั่นเองครับ

 



 
สามารถติดต่อและสอบถามรายละเอียดของบริการได้ที่

โทร : 02-295-3905 ต่อ 114 (K.สัญชัย)

Email : lek@trebs.ac.th

Line ID : @trebs หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/%40tfw7135e

 

 

ขอขอบคุณที่มา: www.thansettakij.com

 

 

[Tag] : วางแผนภาษี , ภาษี , บัญชี , บัญชีอสังหา , ภาษีอสังหาฯ , แผนภาษีอสังหาฯ , บัญชีธุรกิจอสังหาฯ , ภาษีอสังหาริมทรัพย์
บันทึกการเข้า