หอพักขอนแก่น,หอพัก ขจรศักดิ์ ขอนแก่น, หอพัก ศศิธร ขอนแก่น, หอพัก ถูก ขอนแก่น, หอพัก อยู่สบาย ขอนแก่น หน้าค่าย ร.8 ใกล้สนามบินขอนแก่น,

ผู้เขียน หัวข้อ: รับสร้างบ้าน กทม. อยากมีบ้านในเมืองหลวง ต้องดูอะไรบ้าง ?  (อ่าน 12 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2499
    • ดูรายละเอียด

เชื่อว่าใครหลาย ๆ คนมีความฝันที่อยากจะมีบ้านเป็นของตัวเอง โดยวิธีการที่จะเป็นเจ้าของบ้านได้นั้นมีอยู่หลัก ๆ 3 วิธี ดังนี้

-    ซื้อบ้านใหม่ในโครงการบ้านจัดสรร
-    ซื้อบ้านมือสองต่อจากคนอื่น
-    การสร้างบ้านบนที่ดิน กับบริษัท รับสร้างบ้าน กทม.

ซึ่งการสร้างบ้านเองในกรุงเทพฯ จะมีข้อกฎหมายการก่อสร้างบ้านที่มีข้อจำกัดไว้หลายเรื่อง อย่าง ระยะถอยร่นอาคาร พื้นที่ว่างนอกอาคารที่ต้องมี ความสูง และระยะห่างกับบ้านบริเวณใกล้เคียง เป็นต้น วันนี้ รอแยลเฮ้าส์ จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจหลักการเกี่ยวกับการสร้างบ้านเดี่ยวเพื่อพักอาศัยในกรุงเทพฯ จะมีอะไรที่ควรรู้บ้าง ไปชมกันเลย
ข้อควรรู้การขออนุญาตสร้างบ้าน โดยบริษัท รับสร้างบ้าน กทม.

การขออนุญาตการก่อสร้าง สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้

1.    ยื่นขออนุญาต และรอใบอนุญาต 45 วัน

ขอใบอนุญาตจากสำนักงานเขตที่บ้านจะตั้งอยู่ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะตอบกลับว่าอนุญาตหรือไม่ ภายใน 45 วันนับจากวันที่ยื่นอนุญาต และใบอนุญาตจะมีกำหนดอายุไม่เกิน 1 ปี (สำหรับบ้านที่มีพื้นที่รวมกันน้อยกว่า 10,000 ตารางเมตร)


2.    ไม่ยื่นขออนุญาต แต่แจ้งความ ม.39 ทวิ และรอใบรับแจ้ง 3 วัน

หากไม่ยื่นคำขอตามข้อแรก แต่ใช้การแจ้งแทนโดยให้แจ้งแก่สำนักงานเขตที่บ้านจะตั้งอยู่ และต้องแนบเอกสารที่กฎหมายกำหนดไปด้วย เช่น ชื่อของผู้รับผิดชอบงานออกแบบ และคำนวณอาคาร ชื่อของผู้ควบคุมงาน และแบบแปลนอาคาร เป็นต้น

หากทุกอย่างเรียบร้อยเจ้าหน้าที่จะออก “ใบรับแจ้ง” ภายใน 3 วันนับจากวันชำระค่าธรรมเนียม ก็สามารถเริ่มการก่อสร้างได้เลย และภายใน 120 วันเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตมีสิทธิ์ทักท้วงแบบแปลนของคุณได้ตลอดเวลา หากพบเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายก่อสร้างอาคาร เว้นแต่ถ้าเป็นเรื่องรุกล้ำที่สาธารณะ เรื่องระยะร่น ระดับอาคาร หรือพื้นที่ห้ามก่อสร้าง เจ้าหน้าที่จะขอแก้ไข และทักท้วงได้ตลอดแม้ว่าจะเกิน 120 วันไปแล้วก็ตาม (มาตรา 39 ทวิ และ 39 ตรี ของพรบ.ควบคุมอาคาร)


6 ข้อควรรู้ก่อนสร้างบ้านในกรุงเทพฯ จากบริษัท รับสร้างบ้าน

การสร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัย เจ้าของบ้านควรเตรียมพร้อมในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมของบ้านทั้งหลังก่อนที่จะเริ่มดำเนินการสร้าง ซึ่งการเตรียมความพร้อมนี้จะช่วยให้คุณได้บ้านแบบที่อยากได้ ทำให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างราบรื่น และการสร้างบ้านเสร็จตามเวลา ซึ่งเรื่องต่าง ๆ ที่เจ้าของบ้านไม่ควรมองข้าม มีดังนี้

1.    ดูทำเลที่ตั้ง หรือที่ดินสำหรับปลูกสร้าง

การเลือกทำเลที่ตั้งในการปลูกบ้าน ถือเป็นปัจจัยสำคัญในเรื่องของการสร้างบ้าน เจ้าของบ้านควรคำนึงถึงความสะดวกสบายหลังจากที่บ้านสร้างเสร็จแล้ว เช่น การเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ การเดินทางไปที่ทำงาน และความปลอดภัยของย่านทำเลที่อยู่อาศัย รวมไปถึงเส้นทางในการเดินทางเข้า-ออกจากบ้าน ซึ่งควรมีมากกว่า 1 เส้นทาง


2.    ดูระดับความสูงของพื้นที่ ต้องถมที่ดินหรือไม่

ต้องถมที่ดินเพื่อเพิ่มระดับความสูงหรือไม่ เป็นคำถามยอดฮิตก่อนการสร้างบ้านเลยทีเดียว การถมที่ดินให้ดูที่ระดับพื้นถนนหน้าบ้านเรา ซึ่งบริเวณบ้านที่จะทำการก่อสร้างควรสูงกว่าระดับถนน 50 เซนติเมตรขึ้นไป แต่หากเป็นบริเวณก่อสร้างมีน้ำท่วมถึง ให้ดูจากร่องรอยน้ำท่วมแล้วถมที่ดินให้สูงกว่ารอยน้ำท่วม 50 เซนติเมตรขึ้นไป


3.    ดูทิศทางแดด ทิศทางลม และดูแปลนบ้าน

ทิศทางแดด และทิศทางลม เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยการวางตำแหน่งแปลนบ้านที่ดี จะช่วยให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านมีความสะดวกสบาย ช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ลมพัดเข้า-ออกเย็นสบาย โดยทิศทางของแสงแดดจะวิ่งเป็นแนวตะวันออกไปทางทิศใต้ และสิ้นสุดที่ทิศตะวันตก เหมาะสำหรับห้องที่ไม่ได้ใช้เวลาอยู่นาน หรือห้องที่ต้องการแสงแดดเพื่อลดความชื้น อย่าง ห้องน้ำ ห้องครัว หรือพื้นที่ซักล้าง ส่วนทิศเหนือควรเป็นห้องนอน เพราะเป็นพื้นที่ที่ไม่ถูกรบกวนจากแสงแดดมากนัก หรือจะใช้ห้องนี้เป็นห้องนั่งเล่นก็ได้เช่นกัน

ส่วนในเรื่องของทิศทางลม บ้านที่ดีควรหันด้านยาวของตัวบ้านเข้าหาลม เพื่อเพิ่มพื้นที่การรับลมจากธรรมชาติเข้าบ้าน ซึ่งจะช่วยระบายความร้อนภายในบ้านได้ดี อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศภายในบ้านได้อีกด้วย


4.    ดูทิศทางการวางบันได

ทิศทางในการวางบันไดไม่แนะนำให้หันไปทางทิศตะวันตก เนื่องจากทิศตะวันตกเป็นทิศที่มีแสงแดดตอนบ่ายค่อนข้างแรง อาจทำให้บันไดร้อนเกินไป หรือแสงแดดจ้าอาจส่องตา ทำให้เจ้าของบ้านแสบตาจนเกิดอุบัติเหตุได้


5.    ความสูงของเพดาน

ความสูงของเพดานเป็นสิ่งสำคัญ หากออกแบบให้เตี้ยไป เวลาอยู่อาศัยอาจรู้สึกอึดอัดได้ แต่หากออกแบบให้สูงไปก็จะโคร่ง ๆ และเปลืองพลังงานจากเครื่องปรับอากาศได้ โดยความสูงของฝ้าโดยทั่วไปควรสูงไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร เป็นความสูงที่กำลังดี ไม่รู้สึกอึดอัด หรือโดนกดทับ นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดค่ากระเบื้องได้อีกด้วย


6.    ดูจำนวนสมาชิก และจำนวนผู้พักอาศัยในบ้าน

สมาชิกในบ้านต่างเพศ ต่างวัย ย่อมมีความต้องการพื้นฐานที่แตกต่างกัน จำนวนสมาชิก และความต้องการของผู้อาศัยมีผลต่อการออกแบบบ้านเป็นอย่างมาก เช่น การออกแบบ จำนวนชั้น การจัดสรรพื้นที่ใช้สอย การกั้นห้อง และการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์การสร้าง

โดยความต้องการใช้บ้านนั้นควรมองทั้งความต้องการส่วนตัวของสมาชิกในบ้านแต่ละคน และความต้องการโดยรวมเรื่องสไตล์บ้าน รวมไปถึงแนวคิดเรื่องบ้านที่ต้องการ เช่น บ้านเพื่อผู้สูงอายุ บ้านสำหรับครอบครัวใหญ่ หรือบ้านประหยัดพลังงาน เพื่อให้การออกแบบบ้าน และการสร้างบ้านนั้นเอื้อประโยชน์ต่อการพักอาศัย และตอบโจทย์ทุกความต้องการมากที่สุด

รับสร้างบ้าน กทม. อยากมีบ้านในเมืองหลวง ต้องดูอะไรบ้าง ? อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://luxuryhomesdesigns.com/
บันทึกการเข้า