หอพักขอนแก่น,หอพัก ขจรศักดิ์ ขอนแก่น, หอพัก ศศิธร ขอนแก่น, หอพัก ถูก ขอนแก่น, หอพัก อยู่สบาย ขอนแก่น หน้าค่าย ร.8 ใกล้สนามบินขอนแก่น,

ผู้เขียน หัวข้อ: กลยุทธ์ “การบริหารงานก่อสร้าง” ขั้นสุดยอด  (อ่าน 441 ครั้ง)

Trebs15

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 64
    • ดูรายละเอียด

ธุรกิจการก่อสร้างนั้นในเรื่องของการทำงาน ย่อมมีเรื่องของระยะเวลา และต้นทุนเป็นหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากคุณภาพงานที่ดี ดังนั้นวันนี้ โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย จึงขอนำข้อมูลมาแบ่งปัน บอกต่อกันในเรื่องของ การบริหารงานก่อสร้าง สำหรับธุรกิจรับเหมาและเจ้าของกิจการที่ควรรู้ไว้ เพื่อไม่ให้ถูกผู้รับเหมาเอาเปรียบได้นั่นเอง

สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างนั้นถือว่าต้องใช้ทั้งเรื่องของทั้งศาสตร์และศิลป์ควบคู่กัน ดังนั้นความรู้ด้านทฤษฎีต้องแน่น รวมถึงต้องมีประสบการณ์หน้างานด้วย  เพราะต้องนำมาใช้ในการวางแผนการทำงานอันซับซ้อน บริหารทั้งคน และทรัพยากรอื่นๆให้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้  และเรียกได้อีกอย่างว่า การบริหางานการก่อสร้าง เป็นการช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ ทำให้องค์กรประสบผลสำเร็จ ซึ่งไม่เพียงแต่ผู้รับเหมาแต่เจ้าของกิจการเองที่เป็นผู้จ้างก็จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านนี้ไม่แพ้กัน ดังนั้นเรามาดูกันว่าควรมี การบริหารงานการก่อสร้าง แบบไหนที่จะเรียกได้ว่ามีประสิทธิภาพ และผลลัทธ์ที่ดี

การบริหารโครงงานก่อสร้าง หรือ Project Management คือ การบริหารจัดการทรัพย์กรที่มีอยู่ให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของระยะเวลา และงบประมาณในการดำเนินงานที่จำกัดให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งการบริหารโครงการหลักๆจะเน้นการบริหารเพื่อผลลัพธ์ที่ดี

3 อย่างด้วยกัน คือ เวลา, ต้นทุน และคุณภาพนั่นเอง

กระบวนการและขั้นตอนการบริการงานก่อสร้าง

การบริหารงานการก่อสร้างที่ดี  ต้องมีปัจจัยที่หลากหลายและซับซ้อน ถือเป็นความท้าทายสำหรับการบริหารหลายโครงการพร้อมกัน  ภายใต้เวลาและทรัพยากรที่มีจำกัด และการบริหารโครงการก่อสร้างที่ดีสามารถทำได้โดยการแบ่งโครงการใหญ่ให้ออกมาเป็นงานย่อยๆหลายอย่าง เพื่อที่จะได้แบ่งทรัพยากรได้อย่างทั่วถึง สามารถแบ่งออกได้ 5 ส่วน ดังต่อไปนี้

การเริ่มต้น   เป็นการประเมินโครงการว่ามีมูลค่าเท่าไหร่ มีความเป็นไปได้ที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าที่วางไว้โดยใช้งบประมาณและระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่

การวางแผน  เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติ หรือมทีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกอนุมัติ ต่อมาคือการวางแผน เป็นการลงรายละเอียดกิจกรรมทั้งหมดของโครงการ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากิจกรรมของโครงการจะอยู่ในเวลา และงบประมาณที่กำหนด  การวางแผนที่ดีควรลงรายละเอียดว่าพนักงานแต่ละคนทำกิจกรรมอะไรบ้าง รวมถึงวางแผนให้ครอบคลุมการบริหารความเสี่ยงต่างๆด้วย 

การดำเนินการ คือการดำเนินการตามแผนที่วางไว้ และมีการจัดการความเสี่ยงหรือปัจจัยต่างๆที่อาจจะส่งผลกระทบต่อโครงการ 

การตรวจสอบและควบคุม  จะดำเนินการไปพร้อมกับขั้นตอนก่อนหน้า  โดยทำการตรวจสอบและควบคุมให้กิจกรรมในโครงการดำเนินไปตามแผนที่วางไว้  ทั้งด้านเวลา ต้นทุน และคุณภาพของงาน

การปิดโครงการ  เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ทำการส่งมอบผลลัพธ์โครงการให้กับลูกค้า  และเป็นการนำทรัพยากรต่างๆไปให้โครงการอื่นใช้ต่อไป

จุดมุ่งหมายในการบริหารงานก่อสร้าง คือ การบริหารความเสี่ยง

จุดมุ่งหมายใน การบริหารงานการก่อสร้าง คือการสร้างผลลัพธ์ออกมาเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ โดยมีปัจจัยด้านเวลา ต้นทุน และคุณภาพมาด้วย  หรือพูดง่ายๆว่า การบริหารงานก่อสรา้ง ก็คือการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้งานประสบผลสำเร็จตามเป้าที่วางไว้ ทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้อย่างเรื่องของดิน ฟ้า อากาศ  และผู้บริหารโครงการอาจจะเจอกับความเสี่ยงที่ส่งผลให้โครงการอาจจะเสร็จไม่ทันในเวลาที่กำหนด แต่มีเทคนิคการบริหารงานเพื่อให้เสร็จได้ทัน นั่นคือการทำ Project  Scheduling Compression นั่นเอง 

    เทคนิค Project Scheduling Compression การบริหารโครงการก่อสร้าง เพื่อให้งานเสร็จทันเวลาที่กำหนด

การทำงานย่อมมีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน การบริการเวลาจึงเป็นเรื่องสำคัญของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ยิ่งมีกิจกรรมของโครงการเยอะ ยิ่งต้องลงรายละเอียดและการบริหารเวลาไว้ให้ดี แต่เมื่อผู้รับเหมามองเห็นว่าอาจจะทำกิจกรรมไม่เสร็จในเวลาที่กำหนด อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนงาน การบริการงานก่อสร้าง โดยใช้เทคนิค Project Scheduling Compression คือ คือการบริหารงาน และจัดการงานของงานก่อสร้างให้ดำเนินเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดไว้ โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

เทคนิคการทำ Project  Scheduling Compression โดยการ Fast Tracking

ทำได้โดยการเปลี่ยนลำดับงานในแต่ละกิจกรรมใหม่ หรือเริ่มทำงานบางงานพร้อมๆกันได้  โดยวิธีนี้อาศัยประสบการณ์หน้างานมาวิเคราะห์การจัดลำดับของงานในแต่ละกิจกรรมต่างๆ   เช่น โครงการมีงาน 2  กิจกรรม คือ ทาสีห้อง และปูพรมพื้นห้อง และมีการกำหนดให้กิจกรรมทาสีเสร็จก่อนค่อยทำการปูพรมพื้นห้อง หากต้องการเร่งรัดงานให้เสร็จเร็วขึ้นในเวลาที่มีจำกัด  ดังนั้นกิจกรรมจะต้องถูกดำเนินการไปพร้อมๆกัน ซึ่งวิธีนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายในการทำงานเพิ่ม แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของงานโครงการ เพราะสีอาจจะหยดหรือเลอะทำให้พรมเสียหาย แล้วส่งผลกระทบไปยังต้นทุนของโครงการด้วย เพราะอาจจะต้องแก้ไขข้อผิดพลาดจากการทำงาน  ที่มาจากการเปลี่ยนลำดับกิจกรรมของงานในโครงการ

เทคนิคการทำ Project  Scheduling Compression โดยการ Crashing 

วิธิที่นิยมใช้กันคือ การเพิ่มทรัพยากรเข้าไปในกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้งานเสร็จเร็วขึ้น วิธีนี้ จะไม่ต้องเปลี่ยนขั้นตอนการทำงาน หรือลำดับงานในแต่ละกิจกรรม เช่น เพิ่มคน เพิ่มชั่วโมงการทำงาน เพิ่มโอที เป็นต้น  หากเทียบกับตัวอย่างข้างต้นแล้ว เทคนิคนี้ก็จะเป็นการเพิ่มคนในการทาสี เพื่อให้การทาสีห้องนั้นเสร็จเร็วขึ้น ใช้ระยะเวลาสั้นลง และเพิ่มคนในการปูพรมพื้นมากขึ้น แต่จะเป็นการทำกิจกรรมของโครงการตามลำดับเหมือนเดิมคือการทาสีเสร็จก่อนแล้วค่อยมาปูพรมพื้นห้อง เทคนิคแบบนี้จะไม่มีความเสี่ยงเรื่องของคุณภาพงานเนื่องจากลำดับกิจกรรมยังเหมือนเดิม แต่โครงการอาจจะต้องเสี่ยงในเรื่องของต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จากการเพิ่มทรัพยากร 
    เทคนิคการทำ Project  Scheduling Compression ทั้ง 2 วิธี นั้น มีผลกระทบต่อโครงการเสมอ ไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง ดังนั้น หาก Project Manager มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งงานในโครงการให้เสร็จเร็วขึ้นนั้น  ก่อนที่จะเลือกใช้ เทคนิคทั้ง 2 แบบ ก็ควรศึกษาข้อมูลเป็นอย่างดี  ทั้งเรื่องการวางแผนลำดับกิจกรรมต่างๆ ทรัพยากรที่ต้องใช้ , การประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากมีการปรับลำดับงาน และต้นทุนที่จะเกิดขึ้นหากมีการเพิ่มทรัพยากรเข้าไปหากมีการวางแผนแล้วก็ศึกษาเรื่องข้างต้นแบบละเอียดจนแน่ใจแล้วจึงเลือกใช้เทคนิคทั้ง 2 ตามความเหมาะสมของโครงการ เพื่อให้มีระยะเวลาในการทำงานที่สั้นลง โดยส่งผลเสี่ยงต่อโครงการน้อยที่สุดด้วย ทั้งในแง่ของคุณภาพงาน และเรื่องของต้นทุน ให้อยู่ในงบประมาณที่สามารถควบคุมได้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

เครื่องมือและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการงานก่อสร้าง

โครงการมีความยุ่งยากซับซ้อนแต่ไม่ใช่ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ หากมีการนำเครื่องมือ อุปกรณ์และและเลือกใช้กลยุทธ์เป็นตัวช่วยที่ดีในการบริหารโครงการ ความสำเร็จก็เกิดขึ้นได้ไม่ยาก อย่างโครงสร้างการจัดแบ่งงานกิจกรรม Work Breakdown Structure หรือ WBS ที่แบ่งหน้าที่หลักในแต่ละโครงการออกมาเป็นหน้าที่ย่อยแบบละเอียด ช่วยให้การกระจายทรัพยากรง่ายขึ้นหรือเลือกใช้เครื่องมือ เทคโนโลยีด้านการก่อสร้าง อย่างโปรแกรมพจมานเข้ามาช่วย มีฟังก์ชั่นด้าน Project Scheduling Management  ที่จะทำให้การวางแผนการจัดการงานของโครงการได้ละเอียดงานถึงระดับหมวดงานน WBS มีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของโครงการเข้ามาช่วยให้คุณสามารถติดตามความคืบหน้าของงานแบบ
Real –Time  นำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำ และแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ที่จะพาธุรกิจเติบโตได้ในทุกวิกฤตแน่นอน

ดังนั้นรายละเอียดที่โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ได้ยกมาเป็นเพียงน้ำจิ้มเล็กๆน้อยๆที่เรานำมาบอกต่อ ทำให้เราจำเป็นต้องเปิดหลักสูตร สำหรับผู้ที่สนใจหรือเจ้าของโครงการที่ต้องการมาเรียนรู้ ล้วงลึกไปกับ หลักสูตร การบริหารงานก่อสร้าง แนวราบ-แนวสูง (RE171)

สนใจติดต่อและสอบถามรายละเอียดได้ที่

โทร: 02-295-3905 ต่อ 114 (K.สัญชัย)

ID: @trebs หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/@trebs

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.pojjaman.com

[Tag] : อบรมก่อสร้าง , หลักสูตรก่อสร้าง , การบริหารงานก่อสร้าง , ก่อสร้าง , ประมาณราคาก่อสร้าง , ราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร ,การประมาณ ราคาก่อสร้าง , ธุรกิจก่อสร้าง , ราคาค่าก่อสร้าง
บันทึกการเข้า