หอพักขอนแก่น,หอพัก ขจรศักดิ์ ขอนแก่น, หอพัก ศศิธร ขอนแก่น, หอพัก ถูก ขอนแก่น, หอพัก อยู่สบาย ขอนแก่น หน้าค่าย ร.8 ใกล้สนามบินขอนแก่น,

ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: การดูแลบำรุง และรักษาระบบไฟฟ้าภายในบ้าน  (อ่าน 115 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2569
    • ดูรายละเอียด

การตรวจมิเตอร์ไฟฟ้า หัวใจสำคัญของระบบไฟภายในบ้าน

มิเตอร์ไฟฟ้า คือ หัวใจของระบบไฟฟ้าทั้งหมดภายในบ้าน เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้นับหน่วยการใช้ไฟฟ้าในบ้าน ดังนั้น ถ้ามีไฟรั่วหลังมิเตอร์นั่นจะส่งผลให้ค่าไฟแพงขึ้นและอันตรายทั้งบ้านแน่นอน วิธีตรวจสอบว่ามิเตอร์และระบบไฟฟ้าในบ้านไหลเวียนเป็นปกติหรือไม่ ทำได้โดยการตัดไฟทั้งบ้าน แล้วสังเกตว่ามิเตอร์ยังหมุนอยู่หรือไม่ หากยังหมุนอยู่ก็แสดงว่ามีไฟรั่ว ต้องแก้ไขทันที


การตรวจตู้ควบคุมไฟฟ้า ตัวกลางในการนำไฟฟ้าจากผู้ผลิตส่งต่อผู้บริโภค

ปัจจุบันบ้านแทบทุกหลังจะมีตู้ไฟหลักควบคุมระบบไฟฟ้า การจ่ายไฟไปยังตำแหน่งต่างๆ ของบ้านอยู่เป็นศูนย์กลางเพื่อง่ายต่อการดูแลรักษา อุปกรณ์หลักในการเปิด-ปิดการจ่ายไฟในส่วนต่างนี้จะประกอบด้วยเบรกเกอร์ย่อมที่แยกออกเป็นส่วนต่างๆ ตามการใช้งานในระบบต่างๆ ของบ้าน เช่น ไฟแสงสว่างชั้น 1 ไฟแสงสว่างชั้น 2 ไฟแสงสว่างหน้าบ้าน/หลังบ้าน ไฟปั้มน้ำ เป็นต้นโดยมีเบรกเกอร์ตัวหลักที่ใช้ควบคุมเบรกเกอร์ย่อยทุกตัวอีกทีหนึ่งด้วย การตรวจสอบคือการเปิดฝาครอบตู้ออกแล้วดูความเรียบร้อยของสายไฟฟ้าที่เชื่อมเข้าเบรกเกอร์แต่ละตัวนั่นเอง นอกจากนี้แล้วยังต้องทำการตรวจสิ่งต่อไปนี้ควบคู่ไปด้วย


การตรวจปลั๊ก สวิตช์ และหลอดไฟ

เป็นระบบไฟฟ้าที่ใกล้ชิดกับผู้อยู่อาศัยภายในบ้านมากที่สุดเพราะต้องมีการสัมผัสทุกวัน วิธีการตรวจสอบคือการทดสอบเปิดปิดสวิตช์เพื่อเช็กหลอดไฟทีละดวง ส่วนปลั๊กไฟทุกช่องต้องจ่ายไฟได้เป็นปกติด้วยเครื่องมือตรวจระบบไฟรั่วหรือไขควงเทสไฟนั่นเอง ปลั๊กและสวิตช์ทุกช่องควรมีหน้ากากครอบปิดสนิท


การตรวจสายดิน

ทำการเปิดที่ครอบปล๊กออกเพื่อดูว่าสายไฟที่ต่อเข้าปลั๊กซึ่งเป็นระบบ 3 ขานั้นมีสายไฟ “สีเขียว” เส้นที่ 3 ซึ่งเป็นสายดินต่อไปยังตู้ควบคุมไฟฟ้า และมีจุดที่ฝังหลักดิน เพื่อยืนยันว่าบ้านของผู้ซื้อมีวงจรสายดินที่ครบถ้วนสมบูรณ์และเป็นไปตามมาตรฐาน


การตรวจสอบดูแลที่ดีสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

การตรวจระบบไฟฟ้าแท้จริงแล้วในเบื้องต้นทำได้เองไม่ยาก ไม่ต้องถึงขนาดต้องใช้ช่างผู้ชำนาญการเฉพาะด้านแต่อย่างใด แต่หากพบความผิดปกติแล้ว ในการซ่อมบำรุงถึงจะต้องอาศัยช่างผู้ชำนาญการจะดีที่สุด อย่าเสี่ยงแก้ไขติดตั้งเองโดยเด็ดขาดหากไม่มีความรู้อย่างแท้จริงเพราะนอกจากไม่สามารถแก้ไขได้ถูกวิธีและขั้นตอนแล้ว ยังจะสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินได้อีกด้วย



บริหารจัดการอาคาร: การดูแลบำรุง และรักษาระบบไฟฟ้าภายในบ้าน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/
บันทึกการเข้า