หอพักขอนแก่น,หอพัก ขจรศักดิ์ ขอนแก่น, หอพัก ศศิธร ขอนแก่น, หอพัก ถูก ขอนแก่น, หอพัก อยู่สบาย ขอนแก่น หน้าค่าย ร.8 ใกล้สนามบินขอนแก่น,

ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง ความจำเป็นในการลดปัญหาเสียงดังเกินมาตรฐาน  (อ่าน 273 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2590
    • ดูรายละเอียด

ฉนวนกันเสียงมีหลักการทำงานอย่างไร

หลายท่านคงจะเคยมีคำถามเกิดขึ้นมาในใจกันบ้างแล้ว เมื่อต้องประสบกับปัญหาเสียงดังรบกวนจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ คำถามที่จะผุดขึ้นมาคือ ต้องการใช้ฉนวนกันเสียงมาแก้ปัญหาด้านเสียงที่ประสบอยู่ แต่ก็สงสัยว่าฉนวนกันเสียงที่ต้องการนั้นมีหลักการทำงานหรือกันเสียงได้อย่างไร ข้อเท็จจริงคือฉนวนกันเสียงไม่ได้กันเสียงทะลุผ่านอย่างที่เราเข้าใจกัน แต่ฉนวนกันเสียงซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแบบเส้นใย (fibrous) จะมีองค์ประกอบของช่องว่างหรือโพรงอากาศเล็กๆ ระหว่างเส้นใยของฉนวนแต่ละประเภท ซึ่งความพรุน (porosity) ของวัสดุนี้เอง ที่ทำหน้าที่ในการเก็บเสียงหรือดูดซับพลังงานเสียง (sound absorption) เมื่อคลื่นเสียงนั้นๆมากระทบกับผิววัสดุ และคลื่นเสียงหรือพลังงานเสียงที่ถูกดูดซับไว้ก็จะถูกเปลี่ยนกลายเป็นพลังงานความร้อนในที่สุด เราจึงรู้สึกได้ว่าระดับเสียงลดลงหรือเสียงดังเบาลง (โดยเฉพาะเสียงก้องหรือเสียงสะท้อน) ในห้องหรือบริเวณที่มีวัสดุประเภทฉนวนกันเสียงหรือฉนวนซับเสียงติดอยู่นั่นเอง


ฉนวนกันเสียง มีกี่ประเภท

ฉนวนกันเสียงจริงๆแล้วมีมากมายหลายรูปแบบจากหลากหลายวัสดุ แต่จะขอแยกออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆเพื่อให้สะดวกต่อการจดจำและนำไปใช้เลือกวัสดุในการแก้ปัญหาด้านเสียงต่อไป

1) ประเภทเส้นใย (fiber insulation)
2) ประเภทที่ไม่ใช่เส้นใย (non-fiber insulation)

ฉนวนกันเสียงประเภทเส้นใยนั้น จะมีพื้นฐานมาจากวัสดุของประเภทฉนวนที่ใช้กันความร้อน เช่น ฉนวนใยแก้ว (fiberglass) ฉนวนใยหิน (rock wool) ฉนวนใยโพลีเอสเตอร์ (polyester wool) ฉนวนใยสแตนเลสสตีล (stainless steel wool) และฉนวนกันเสียงที่มีส่วนผสมของเยื่อไม้ เป็นต้น ส่วนฉนวนกันเสียงประเภทที่ไม่ใช่เส้นใย ส่วนใหญ่จะผลิตมาจากยางสังเคราะห์ (synthetic rubber) หรือไม่ก็เป็นวัสดุจำพวก thermoplastic ไปเลย เช่น แผ่นไวนีล แผ่นอครีลิค หรือแม้แต่แผ่นคอนกรีต เป็นต้น


จุดเด่นจุดด้อยของ ฉนวนกันเสียง แต่ละประเภท

ฉนวนกันเสียงก็เหมือนกับวัสดุวิศวกรรมอื่นๆทั่วๆไป ที่ไม่ได้มีวัสดุประเภทใดหรือชนิดใดใช้งานได้แบบครอบจักรวาลหรือตอบสนองได้ดีทุกความต้องการ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงจุดเด่นและจุดด้อยของฉนวนกันเสียงที่แบ่งตามประเภทแบบเส้นใยและไม่ใช่เส้นใยเท่านั้น

จุดเด่น - ฉนวนกันเสียงประเภทเส้นใย คือ หาซื้อได้ไม่ยาก น้ำหนักเบา แก้ปัญหาเสียงสูงหรือเสียงสะท้อนได้ดี
จุดด้อย - ฉนวนกันเสียงประเภทเส้นใย คือ โดนน้ำหรือสัมผัสกับไอน้ำแล้วจะทำให้คุณสมบัติการซับเสียงด้อยลง
จุดเด่น – ฉนวนกันเสียงประเภทที่ไม่ใช่เส้นใย คือ วัสดุส่วนใหญ่จะโดนน้ำได้ ใช้กันเสียงต่ำได้ดีกว่าแบบเส้นใย
จุดด้อย – ฉนวนกันเสียงประเภทที่ไม่ใช่เส้นใย คือ น้ำหนักมาก และบางฟอร์มหาซื้อได้ยากกว่าแบบเส้นใย


ราคาของ ฉนวนกันเสียง แต่ละประเภท

สำหรับท่านที่มีความกังวลเรื่องราคาฉนวนกันเสียงว่าจะสูงจนเกินเอื้อมหรือหาซื้อมาใช้ไม่ได้นั้น อย่าเพิ่งท้อใจหรือเลิกล้มความคิดที่จะพิชิตปัญหาเสียงดังรบกวนไปครับ เพราะฉนวนกันเสียงที่มีจำหน่ายในบ้านเรานั้น มีตั้งแต่ราคาหลักร้อยบาทไปจนถึงหลักหมื่นบาทต่อตารางเมตรก็มี แต่โดยส่วนใหญ่แล้วราคาของฉนวนกันเสียงสำหรับแก้ปัญหาเสียงที่มีพลังงาน (sound power level) ไม่สูงจนเกินไปนัก เช่น เสียงจากการจราจร เสียงจากกิจกรรมของเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน เสียงรำคาญจากการใช้เครื่องขยายเสียง เป็นต้น เสียงดังรำคาญหรือเสียงรบกวนเหล่านี้ สามารถใช้ฉนวนกันเสียงที่วางจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาดได้ โดยราคาก็จะอยู่ที่ประมาณ 300-800 บาทต่อตารางเมตร ขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุและคุณสมบัติด้านการกั้นเสียงเป็นหลัก


แหล่งจำหน่าย ฉนวนกันเสียง

บริษัทหรือร้านค้าที่ขายฉนวนกันเสียงจะแบ่งได้สองประเภทหลักคือ

1) แหล่งขายฉนวนกันเสียงแบบที่ใช้กับงานทั่วไป (general usage)
2) แหล่งขายฉนวนกันเสียงแบบใช้แก้ปัญหาเฉพาะงาน (specific usage)

โดยแหล่งขายฉนวนกันเสียงแบบที่ใช้กับงานแก้ปัญหาด้านเสียงทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นฉนวนกันเสียงสำหรับติดตั้งในบ้านหรืออาคารสาธารณะที่ไม่ใช่โรงงาน ได้แก่ ร้านค้าวัสดุก่อสร้าสง ห้างสรรพสินค้าด้านเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับช่าง ส่วนแหล่งขายฉนวนกันเสียงแบบที่ใช้แก้ปัญหาเฉพาะงานนั้น โดยมากจะเป็นบริษัทหรือโรงงานที่ผลิตวัสดุแก้ปัญหามลภาวะทางเสียงเฉพาะทาง เช่น ฉนวนสำหรับแก้ปัญหาเสียงของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ทำงานเฉพาะด้าน ได้แก่ เครื่องบดเศษพลาสติค เครื่องอัดอากาศ เครื่องปั๊มโลหะ เครื่องตัดโลหะ เป็นต้น เพราะเสียงที่เกิดจากการทำงานของเครื่องจักรเหล่านี้ มักจะใช้ฉนวนกันเสียงแบบที่ใช้ตามบ้านทั่วไปไม่ค่อยได้ผลดีเท่าที่ควรนั่นเอง


ฉนวนกันเสียง ความจำเป็นในการลดปัญหาเสียงดังเกินมาตรฐาน  อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/
บันทึกการเข้า